วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สรุปเนื้อหาเศรษฐศาสตร์ ม.4-5-6 (มหภาค-การเงิน)

สรุปเนื้อหาเศรษฐศาสตร์ ม.4-5-6 (การเงิน-มหภาค-ระหว่างประเทศ)

- เงิน (Money) หมายถึง สิ่งที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ
ลักษณะ : ต้องเป็นที่ยอมรับในสังคม สามารถแบ่งหน่วยย่อยๆ มีลักษณะเหมือนกัน สะดวกและทนทานต่อการพกพา สำคัญมีความเสถียรในมูลค่า (อาจจะมีความหายาก)
ประเภทของเงิน :
1. เหรียญกษาปณ์ (ในประเทศไทย ผู้ผลิต คือกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง) 
2. ธนบัตร (ในประเทศไทย ผู้ผลิต คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย)
3. เงินฝากกระแสรายวัน (ในประเทศไทย ผู้ผลิต คือ ธนาคารพาณิชย์)
- ประเภทของเงินตามปริมาณเงิน
1. เงิน M1 (แคบ) ได้แก่ เหรียญกษาปณ์ ธนบัตร เงินฝากกระแสรายวัน (อยู่ในระบบตลาดปกติ)
2. เงิน M2 (กว้าง) ได้แก่ เงินฝากประจำ ตั๋วเงิน หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล เงินฝากออมทรัพย์
- มูลค่าของเงิน หมายถึง อำนาจในการซื้อสินค้าและบริการหรือแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างสกุล
1. ค่าของเงินภายใน อำนาจในการซื้อสินค้าหรือบริการของเงินในแต่ละหน่วย พิจารณาจากดัชนีราคาสินค้า (ซึ่งผกผันกันกับราคาสินค้าเสมอ)
2. ค่าของเงินภายนอก อำนาจในการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ (แปลงจากสกุลหนึ่งไปอีกสกุลหนึ่ง) หากจ่ายเพิ่มขึ้นในการแลกเงิน เรียกว่า ค่าเงินอ่อนตัว ในทางตรงข้าม จ่ายน้อยลงในการแลกเงิน เรียกว่า ค่าเงินแข็งตัว
- ความต้องการถือเงินสด จะเกิดขึ้นใน 3 ลักษณะ คือ เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เพื่อใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน และเพื่อใช้ในการแสวงหากำไร
- ประเภทของสถาบันการเงิน
1. สถาบันการเงินที่เป็นธนาคาร ได้แก่
1.1. ธนาคารกลาง มีลักษณะสำคัญไม่แสวงหากำไรจากการประกอบการและไม่ทำธุรกรรมโดยตรงกับประชาชน มีหน้าที่
- รักษาเสถียรภาพผ่านนโยบายการเงิน โดยการรักษาเงินทุนสำรองของประเทศ
- เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์ เพื่อควบคุมการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์
- จัดพิมพ์และออกธนบัตร เพื่อควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ
- เป็นนายธนาคารของรัฐบาล
- ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและประชาสัมพันธ์ข่าวสารทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ
1.2. ธนาคารพาณิชย์ มีลักษณะเป็นสถาบันการเงินที่ประกอบธุรกิจรับ-ถอนเงินฝาก กู้ยืม ให้สินเชื่อ ซื้อขายแลกเปลี่ยน เก็บค่าธรรมเนียม และธุรกรรมอื่นๆ กับประชาชนและนิติบุคคลทั่วไป โดยจะมีระบบสาขาเพื่อระบายเงินทุนสู่ท้องถิ่น และกระจายสินเชื่อ (หากมีเพียงสาขาเดียว จะเกิดขึ้นในลักษณะที่ธนาคารนั้นๆ ต้องการตอบสนองความต้องการของการทำธุรกรรมเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย)
**เงินทุนของธนาคารพาณิชย์ = ผู้ถือหุ้น การกู้ และเงินฝากของลูกค้าธนาคาร**
1.3. ธนาคารพิเศษ หรือธนาคารจัดตั้งขึ้นมาเฉพาะอย่าง ในประเทศไทยประกอบด้วย
- ธนาคารออมสิน เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการระดมเงินฝากจากประชาชนสู่รัฐบาล เพื่อเป็นเงินทุนในการพัฒนาประเทศ
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เงินกู้และรับประการเงินกู้แก่เกษตรกร สหกรณ์การเกษตร
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งเพื่อให้ประชาชนที่มีฐานะปานกลางกู้ยืมเพื่อไปใช้ในการหาที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
2. สถาบันการเงินที่ไม่เป็นธนาคาร ได้แก่
2.1. บริษัทเงินทุนและบริษัทหลักทรัพย์
2.2. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
2.3. บริษัทประกันชีวิตและประกันภัย
2.4. สหกรณ์การเกษตร
2.5. สหกรณ์ออมทรัพย์
2.6. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
2.7. โรงรับจำนำและสถานธนานุบาล
- ประเภทของภาษี
1. ภาษีทางตรง เป็นภาษีที่มีอัตราการเก็บแบบก้าวหน้า ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือผลักภาระให้ผู้อื่นจ่ายได้ เช่น ภาษีเงินได้ (บุคคล/นิติบุคคล) ภาษีมรดก ภาษีที่ดิน
2. ภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่มีอัตราการเก็บคงที่ สามารถผลักภาระให้ผู้อื่นจ่ายแทนได้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น