วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สรุปเนื้อหาเศรษฐศาสตร์ ม.4-5-6 (จุลภาค)

สรุปเนื้อหาเศรษฐศาสตร์ ม.4-5-6 (จุลภาค)

บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ = อดัม สมิธ 
- เศรษฐศาสตร์ (Economics) คือ ศาสตร์แห่งการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ (สินค้า + บริการ)
- เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นการศึกษาพฤติกรรมหน่วยเศรษฐศาสตร์ ที่มีการแสวงหาผลประโยชน์ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ
- เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศทั้งระบบ
- ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ = What (ผลิตอะไร) How (ผลิตอย่างไร) For Whom (ผลิตเพื่อใคร)
- ปัจจัยการผลิตทางเศรษฐศาสตร์
1. ที่ดิน (ค่าตอบแทน = ค่าเช่า)
2. แรงงาน (ค่าตอบแทน = ค่าจ้าง) แบ่งออกเป็น แรงงานทักษะ แรงงานกึ่งทักษะ และแรงงานไร้ทักษะ
3. ทุน (ค่าตอบแทน = ดอกเบี้ย) ในรูปแบบของเครื่องมือ สิ่งปลูกสร้าง และ/หรือเครือข่าย
4. ผู้ประกอบการ (ค่าตอบแทน = กำไร ; เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจที่ต้องการสูงสุด)
- ระบบเศรษฐกิจ แบ่งออกเป็น
1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (ไม่มีการวางแผนจากส่วนกลาง) = เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งหมด มีความอิสระในการผลิตและการบริโภค โดยมีกลไกราคากำหนด (อุปสงค์-อุปทาน)
2. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (มีการวางแผนจากส่วนกลาง แบ่งออกเป็น สังคมนิยมแบบเผด็จการและสังคมนิยมคอมมิวนิสต์) = รัฐบาลเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งหมด กำหนดการผลิตและการบริโภคด้วยตนเอง
3. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม = รัฐบาลเข้ามาควบคุมกิจการบางประการ เช่น สาธารณูปโภค สิ่งอันตรายต่อประชาชน เอกชนมีประสิทธิภาพและอิสระในการผลิต ลักษณะระบบนี้จะอาศัยกลไกราคา ดังนั้นการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ก็จะอาศัยการแทรกแซงกลไกตลาด (ราคาขั้นต่ำ - ราคาขั้นสูง)
("มือที่มองไม่เห็น" = กลไกตลาด")
- อุปสงค์ (Demand) 
ความหมาย - ความต้องการซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภค
องค์ประกอบ - ต้องมีอำนาจซื้อ มีความเต็มใจ มีความสามารถ สภาพแวดล้อมเหมาะสม
กฎของอุปสงค์ - ราคาเพิ่มสูงขึ้น อุปสงค์ลดลง / ราคาลดลง อุปสงค์เพิ่มขึ้น
ปัจจัย - ราคาสินค้า (ทั้งสินค้าชนิดนั้นๆ และเกี่ยวเนื่อง) รสนิยม รายได้ของผู้บริโภค จำนวนประชากร
**สินค้าทดแทนกัน จะมีอุปสงค์ที่สวนทางกัน (ชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้น อีกชนิดจะลดลง) เช่น ไก่-หมู
**สินค้าประกอบกัน จะมีอุปสงค์ไปในทางเดียวกัน (ชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้นแล้ว อีกชนิดที่ประกอบกันจะเพิ่มขึ้นตาม) เช่น ไม้ปิงปอง-ลูกปิงปอง กาแฟ-ครีมเทียม
**สินค้าด้อยคุณภาพ จะมีลักษณะสอดคล้องกับรายได้ของผู้บริโภค (เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น อุปสงค์ต่อสินค้าประเภทนี้จะลดลง) เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมปัง
- อุปทาน (Supply)
ความหมาย - ความต้องการขายสินค้าและบริการของผู้ผลิต
กฎของอุปสงค์ - ราคาเพิ่มสูงขึ้น อุปทานเพิ่มขึ้น / ราคาลดลง อุปทานลดลง
ปัจจัย - ราคาสินค้า (ทั้งสินค้าชนิดนั้นๆ และเกี่ยวเนื่อง) ปัจจัยการผลิต ต้นทุน เทคโนโลยีการผลิต และฤดูกาล
- จุดดุลยภาพ (Equilibrium point) คือ จุดที่เส้นอุปสงค์และอุปทานตัดกันในกราฟ เมื่อให้จุดดุลยภาพเป็นหลัก
**เหนือจุดขึ้นไป เรียกว่า อุปทานส่วนเกิน --> เกิดสินค้าล้นตลาด
**ต่ำกว่าจุดลงมา เรียกว่า อุปสงค์ส่วนเกิน --> เกิดสินค้าขาดตลาด
- นโยบายการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
*นโยบายการกำหนดราคาขั้นต่ำ ใช้แก้ปัญหาป้องกันสินค้าราคาต่ำกว่าต้นทุน มักใช้ในสินค้าเกษตร เพราะมีปริมาณผลผลิตไม่แน่นอน สภาพอากาศและอายุการเก็บรักษาไม่แน่นอน เมื่อสินค้าเหล่านี้ล้นตลาด รัฐบาลจะเข้าซื้อที่ราคาหนึ่ง เพื่อไม่ให้ราคาสินค้าเกษตรเหล่านั้นต่ำจนเกินไป
ที่มากกว่ากำหนดไว้
***การกำหนดค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลูกจ้างและนายจ้าง ตลอดจนผู้ประกอบการธุรกิจ อาจก่อให้เกิดการตกงานของแรงงาน ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น***
*นโยบายการกำหนดราคาขั้นสูง ใช้แก้ปัญหาการที่ราคาสินค้าที่จำเป็นต่อประชาชนสูงเกินไป เช่น แก๊สหุงต้มที่ใช้ในครัวเรือน โดยรัฐบาลจะกำหนดเพดานราคาไว้ที่ราคาหนึ่ง ไม่ให้มีการขายสินค้าในราคาสูง การแก้ปัญหาในลักษณะนี้จะส่งผลเสียให้เกิดตลาดมืด (Black Market) ซึ่งมีราคาซื้อขายสูงกว่ารัฐบาลกำหนดไว้
*นโยบายการจ่ายเงินสนับสนุนส่วนต่าง เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำผ่านการลดปริมาณการผลิต แล้วจ่ายเงินส่วนที่ควรจะได้เข้าไปแทน โดยจ่ายอุดหนุนเพื่อรักษาระดับดุลยภาพของตลาดไว้
- ตลาด (Market) ในความหมายทั่วไป คือ "สถานที่ผู้ซื้อและผู้ขายมาพบปะกัน" ในทางเศรษฐศาสตร์ จะหมายถึง "สภาวะที่มีการตกลงซื้อขายสินค้ากัน" แบ่งออกเป็น
1. ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (ระยะยาวจะทำให้เกิดการแบ่งกำไรในทิศทางปกติ = ได้เท่าๆกัน) จัดเป็นตลาดในอุดมคติของนักเศรษฐศาสตร์ โดยมีลักษณะดังนี้
+ผู้ซื้อผู้ขายมีจำนวนมาก ไม่มีอิทธิพลในการกำหนดราคาได้
+สินค้ามีลักษณะเหมือนกันทุกประการ
+มีการย้ายเข้า-ออกของผู้ขายได้อย่างเสรี
+มีความรอบรู้ในสถานการณ์ของตลาด
2. ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ แบ่งออกเป็น
2.1. ตลาดผูกขาด (ระยะยาวส่งผลให้เกิดการได้กำไรมากกว่าระดับปกติ) เกิดมาจากการรวมบริษัทกันเพียงหนึ่งเดียว หรือสินค้ามีการจดสิทธิบัตร การผลิตมีขนาดใหญ่และลงทุนสูง หรืออาจจะเป็นเจ้าของทรัพยากรนั้นๆ เช่น สาธารณูปโภค ยาสูบ มีลักษณะดังนี้
+ผู้ผลิต 1 รายและกีดกันผู้ค้ารายอื่น
+ไม่มีสินค้าทดแทนได้ในตลาด
+ผู้ผูกขาดมีสิทธิกำหนดราคาและปริมาณในการขาย
2.2. ตลาดผู้ขายน้อยราย เกิดจากการรวมกันตกลงราคาหรือผู้นำด้านราคา เช่น สายการบิน น้ำมันเชื้อเพลิง มีลักษณะดังนี้
+มีผู้ขายจำนวนน้อย
+สินค้ามีความแตกต่างกันแต่ทดแทนกันได้ดี
+เกิดการกีดกันทางการค้าได้ ผ่านการแข่งขันทางด้านคุณภาพของสินค้าและบริการ
2.3. ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด เป็นตลาดที่พบเห็นได้ทั่วไป มีลักษณะดังนี้
+มีผู้ขายจำนวนมาก แต่เป็นผู้ขายรายย่อย
+สินค้ามีความแตกต่างกัน ใช้ทดแทนกันได้
+ไร้อุปสรรคทางการค้า มีความรู้
+มีการโฆษณา เพื่อแข่งขันการทางการค้าในการสร้างอำนาจผูกขาดตลาดนั้นๆ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น