วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

พระพุทธศาสนา ม.4-6 หน่วยที่ 5-12

พระพุทธศาสนา ม.4-6 หน่วยที่ 5-12

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้องในทางพระพุทธศาสนา
1. ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง ความเชื่อที่อยู่บนหลักของเหตุและผลในคุณงามความดี
2. ความเชื่อในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ กัมมสัทธา วิปากสัทธา กัมมัสสกตาสัทธา และตถาคตโพธิสัทธา
3. “กรรมใดใครก่อ ผลของกรรมนั้นย่อมคืนสนอง” ข้อความนี้ หมายถึง ผลของกรรมนั้นมีอยู่จริง (วิปากสัทธา)
4. พระคุณทั้ง 9 ประการของพระพุทธเจ้านั้น สอดคล้องกับหลักศรัทธาในทางพระพุทธศาสนา ในหัวข้อ ตถาคตโพธิสัทธา
5. “กฎแห่งกรรม” สอดคล้องกับหลัก กัมมสัทธา
6. ความดีของมนุษย์สร้างขึ้นมาได้ต้องอาศัยปัจจัยที่ว่ามนุษย์ต้องมีความเพียร
7. หลักศรัทธาทำให้เรารู้ต่อไปได้อีกว่า ทุกสิ่งย่อมมีเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น และมีผลของสิ่งนั้นๆ ตามมา
8. ปัญญาแบ่งตามการรับรู้ได้ 2 ประเภท คือ ปัญญาทางโลก และปัญญาทางธรรม
9. หลักโกศล 3 เป็นหลักที่อธิบายประเภทของความรู้ที่ควรพัฒนาใน 3 ลักษณะ
10. “การทดลองวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์” จัดเป็นความรู้ที่ได้จากการศึกษาเล่าเรียนและฝึกฝน หรือ โยคะปัญญา
11. ไตรสิกขา 3 ประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา
12. ความรู้จักเหตุแต่ความเสื่อมและโทษความเสื่อม ความเสื่อมในที่นี้ ตรงกับหลักในทางพระพุทธศาสนาข้อ อบายมุข 6
13. ในสังคมปัจจุบันมีความเชื่อแบบฝังหัวเป็นส่วนใหญ่
14. ปัญญาที่ดี คือ ปัญญาที่ลงมือปฏิบัติจริง หรือ ภาวนามยปัญญา
15. ปัญญาระดับอริยบุคคล คือ ปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติจนบรรลุอริยสัจ 4
16. ปัญญาระดับล่าง คือ ปัญญาที่สอดคล้องกับหลักโกศล 3
17. ศรัทธาที่พึงประสงค์นั้น ควรเป็นความเชื่อที่มีปัญญา หรือเหตุผลมารองรับความเชื่อนั้นๆ ว่ามีเหตุปัจจัยในตัวของมันเอง
18. หลักโยนิโสมนสิการ เป็นหลักในการพัฒนาปัญญาได้ โดยเฉพาะการใช้หลักนี้ในข้อที่ว่าหลักการคิดแบบสืบสาวหาเหตุปัจจัยของสิ่งนั้นๆ
19. หลักหัวใจนักปราชญ์ (สุ จิ ปุ ลิ) เป็นหลักธรรมที่สำคัญในการพัฒนาปัญญาของคนเราในขั้นต้น ก่อนไปสู่การปฏิบัติจริง
20. การรู้แบบครบวงจร คือ การรู้ถึงความเสื่อมและเหตุของความเสื่อม รู้แล้วต้องหลีกเลี่ยงแก้ไขความเสื่อม และรู้ถึงวิธีการสร้างความเจริญให้คงอยู่และส่งเสริมให้ดียิ่งๆขึ้นไปด้วย หรือรู้ทั้งสองด้าน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
21. พระพุทธศาสนา มีพระธรรมวินัยเป็นธรรมนูญสูงสุด แบ่งเป็นพระธรรม เป็นหลักคำสอน ส่วนพระวินัย คือ คำสั่งอันเป็นข้อปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าบัญญัติขึ้น
22. วิธีเยภุยยสิกา คือ วิธีตัดสินคดีในทางพระพุทธศาสนาในทางพระสงฆ์ โดยใช้เสียงข้างมากสนับสนุน
23. ลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา คือ ยึดในหลักทางสายกลาง ไม่เอนเอียงไปซ้ายหรือขวา
24. “การได้รับอานิสงส์กฐิน” แสดงให้เห็นว่าพระสงฆ์นั้นได้รับความเท่าเทียมกันในเรื่องสิทธิ เสรีภาพภายใต้พระธรรมวินัย
25. ลักษณะประชาธิปไตยของพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล มีจุดประสงค์สำคัญเพื่อให้ผู้ที่หันมานับถือพระพุทธศาสนาไม่แบ่งแยกชนชั้นวรรณะกัน ทุกคนเท่าเทียมกันหมด
26. สถานที่ประชุมของสงฆ์เพื่อทำสังฆกรรม เราเรียกว่า สีมา
27. ลักษณะของญัตติจตุตถกรรม คือ เป็นการประชุมที่มีการแจ้งให้ทราบ 1 ครั้งและประกาศขอความเห็น 3 ครั้ง
28. เสรีภาพที่สำคัญในทางพระพุทธศาสนา เช่น การศึกษาพระพุทธศาสนา ในภาษาใดก็ได้ ปฏิบัติคล้อยตามกฎหมายของประเทศของตนพำนักอยู่
29. ปัจจัยที่มีผลให้เกิดข้อแตกต่างระหว่างมหายาน และหินยาน คือ การถอนสิกขาบทที่เห็นว่าเล็กน้อย ซึ่งฝ่ายหินยานไม่มีการถอนใดๆ แต่มหายานมีการถอน ซึ่งเวลาล่วงไปก็มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ
30. ธรรมาธิปไตยนั้น ต้องละตัณหา ทิฐิ และมานะ
31. ความยึดติดในอุดมการณ์ของตน โดยไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การกระทำเช่นนี้ ถือว่าเป็นทิฐิ
32. ความอยากได้ในสิ่งต่างๆ เพื่อให้ลุแก่อำนาจของตน เราเรียกว่า ตัณหา
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 หลักการพระพุทธศาสนากับหลักการวิทยาศาสตร์
33. วัตถุนิยม คือ เชื่อว่าวัตถุต่างๆ มีอยู่จริง
34. ในทางพระพุทธศาสนา เน้นความสุขทางใจมากกว่าความสุขทางวัตถุ
35. โดยมากแล้ว พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่ไปในแนวทางนามธรรม คือ ความดี ความชั่ว
36. ข้อเสียของการให้เห็นมูลค่าของสิ่งต่างๆ คือ ทำให้คนหลงในความสุขทางวัตถุและมีความฟุ่มเฟือย
37. สิ่งที่พระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์มีความเหมือนกันอย่างเห็นได้ชัด คือ การเชื่อในหลักของเหตุและผล
38. การคิดในทางวิทยาศาสตร์นั้นมีข้อจำกัดที่ว่า การคิดในลักษณะนี้ไม่สามารถก้าวข้ามในเรื่องของนามธรรมหรือจิตใจได้
39. วิธีการคิดของพระพุทธศาสนา มีความคล้ายคลึงกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์
40. กฎสากลต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ แล้วนำไปคิดหาเหตุและผล จากสิ่งต่างๆ ในช่วงเวลาอดีต ปัจจุบันและอนาคต
41. พระพุทธศาสนานั้นให้ความสำคัญเรื่องการมุ่งให้คนเราเป็นคนดี ทั้งกาย วาจา ใจ ตลอดจนจุดหมายสูงสุดคือเน้นความสงบ ความสุขทางใจ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 การฝึกฝน การพัฒนาตนเอง การพึ่งตนเอง และการมุ่งอิสรภาพในพระพุทธศาสนา
42. หลักของศาสนาพราหมณ์ คือ พระพรหมเป็นผู้สร้างโลก และเทพเจ้าบันดาลทุกสิ่ง
43. “เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก เราคือผู้เป็นใหญ่แห่งโลก” ข้อความนี้แสดงให้เห็นถึงพระปณิธานที่เจ้าชายสิทธัตถะประสงค์จะประกาศอิสรภาพของมนุษย์
44. พุทธะ ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธะ พระอนุพุทธะ
45. การมีความเชื่อและศรัทธาพื้นฐานในเรื่องศักยภาพในการพัฒนาตนของมนุษย์ จัดเป็นการมองจากข้างนอกเข้าไปในตนเอง
46. ในสมัยก่อนพุทธกาล เหตุที่ทำให้คนต้องมาบนบานแก่เทพเจ้าทั้งหลาย เพราะเชื่อว่าเทพเจ้าทั้งหลายสามารถบันดาลได้ทุกสิ่งอย่างบนโลกใบนี้
47. จุดมุ่งหมายในการพัฒนาตนเอง คือ ทำให้ตนนั้นไม่ต้องไปพึ่งเทพเจ้าต่างๆ อีกต่อไป
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 พระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์แห่งการศึกษาซึ่งเน้นความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยและวิธีการแก้ปัญหา
48. หลักการศึกษาในทางพระพุทธศาสนา เรียก ไตรสิกขา 3
49. เงื่อนไขสำคัญในการพัฒนาตนของมนุษย์ คือ การศึกษา
50. ผู้ที่ได้รับการศึกษาตามหลักไตรสิกขาโดยสมบูรณ์ ในทางพระพุทธศาสนาจะเรียกว่า บัณฑิตหรือพระอรหันต์
51. ภาวิตบุคคล หมายถึงบุคคลที่พัฒนาแล้ว
52. การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างมีสติ เราเรียกพฤติกรรมนี้ว่า ภาวิตกาย
53. หลักปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักวัฏสงสารที่มีเหตุปัจจัยในตัว
54. “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น...” ข้อความนี้เป็นกระบวนการของเหตุปัจจัยสัมพันธ์
55. ปุริสทัมม์ ในทางพระพุทธศาสนาหมายถึง ผู้ที่ควรแก่การฝึกและศึกษา
หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 พระพุทธศาสนาฝึกตนไม่ให้ประมาท มุ่งประโยชน์และสันติภาพแก่บุคคล สังคมและโลก
56. สติอวิปปวาส หมายถึง ความไม่ประมาท
57. หลักอภิณหปัจจเวกขณ์ 5 แสดงให้เห็นถึงทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้ต้องพิจารณาว่าเป็นเรื่องธรรมดา
58. หลักสูงสุดในการฝึกตนไม่ให้ประมาท คือ หลักสติปัฏฐาน 4
59. เหตุที่ “ความไม่ประมาทเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา” นั้นคือ ผู้ที่บรรลุพระนิพพาน ถือว่าเป็นผู้บรรลุถึงความไม่ประมาทอย่างสมบูรณ์
60. “รัก โลภ โกรธ หลง” เป็นสี่สถานที่ไม่ควรประมาทในการฝึกตน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 พระพุทธศาสนากับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน
61. “อตฺตา หิ อตฺตาโน นาโถ” เป็นเป้าหมายหลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
62. ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ความพอเพียง” หมายถึงความพอประมาณและความมีเหตุผล
63. สาเหตุที่ต้องมีการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน คือ การพัฒนาประเทศที่ผิดๆ สร้างปัญหาต่างๆ ตามมา และทำให้คนมีความทุกข์
64. ธรรมประจำใจอันประเสริฐในการพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ พรหมวิหาร 4
65. ความตระหนี่ ความหวง จัดเป็นมัจฉริยะ
66. หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียง คือ มัตตัญญุตา สันโดษ การพึ่งตนเอง มัชฌิมาปฏิปทา ธัมมัญญุตาและอัตถัญญุตา
67. สันโดษในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง ความมักน้อย แต่ไม่ใช่การอยู่ตัวคนเดียว
68. การประกอบอาชีพอย่างสุจริตยุติธรรม สอดคล้องกับหลัก สัมมาอาชีวะ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 ความสำคัญของพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับการศึกษาที่สมบูรณ์ การเมืองและสันติภาพ
69. ในทางพระพุทธศาสนา ปัญญาแบ่งออกเป็น สหชาติปัญญา นิปากปัญญา และวิปัสสนาปัญญา
70. กระบวนการในการรับความรู้ รับปัญญา คือ ฟัง คิด ทำ
71. การเกิดสัมมาทิฏฐินั้น มีเหตุจากคนรอบข้างและความคิดจากการกระตุ้นภายใน
72. การศึกษาเชิงพุทธ เน้นสมดุลในด้านความเจริญทางวัตถุและจิตใจ
73. หลักในการเคารพกันของพระพุทธศาสนานั้น ยึดหลักอาวุโสเป็นสำคัญ
74. การที่นักปกครอง ปกครองแบบเห็นแก่ประโยชน์ตนเป็นสำคัญ เรียกระบบการปกครองแบบอัตตาธิปไตย
75. จากหลักอปริหานิยธรรม 7 ชี้ให้เห็นว่า ทุกคนเสมอภาคกันไม่ว่าสตรีหรือบุรุษ
76. ตัวอย่างทางศีลธรรมของประชาชน หมายถึง สามเณรและพระสงฆ์
77. เครื่องยึดเหนี่ยวในทางพระพุทธศาสนานั้น มีความสำคัญ คือ เป็นเครื่องเกิดความสามัคคีกลมเกลียว สนิทสนมและผูกพัน
78. ความเป็นคนมีตนสม่ำเสมอ หมายถึง การไม่ถือตนเอง ไม่เย่อหยิ่ง
79. พุทธธรรมของนักปกครอง คือ หลักทศพิธราชธรรม
80. ความไม่เย่อหยิ่งในหลักทศพิธราชธรรมเรียกว่า มัททวะ
81. สังคหวัตถุ 4 กับ ราชสังคหวัตถุ 4 ต่างกันคือ สังคหวัตถุ 4 เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของคนทั่วไป ขณะที่ราชสังคหวัตถุ 4 เป็นหลักการสงเคราะห์ของพระราชาหรือนักปกครอง
82. ธรรมเนียมการทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจของนักปกครอง เรียกว่า จักรวรรดิวัตร

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

รวมมิตรเคมี - เคมีพื้นฐาน ม.4 ปิโตรเลียม-พอลิเมอร์-สารชีวโมเลกุล

เคมีพื้นฐาน ม.4 ปิโตรเลียม-พอลิเมอร์-สารชีวโมเลกุล
  1. ประโยชน์ของปิโตรเลียม คือการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านปิโตรเคมี ปุ๋ยเคมี และเชื้อเพลิงคมนาคม
  2. ปิโตรเลียมประกอบด้วยน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ
  3. ประโยชน์ของชั้นหินทึบในการกักเก็บปิโตรเลียมใต้ดิน คือ ป้องกันการระเหยของปิโตรเลียม
  4. หลักการสำคัญที่นำมาใช้ในการสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียมใต้ดิน คือ การใช้คลื่นเสียงสะท้อน
  5. องค์ประกอบหลักของแก๊สธรรมชาติ คือ ก๊าซมีเทน
  6. ผลพลอยได้จากการแยกแก๊สธรรมชาติ ในส่วนที่เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนใหญ่นำไปทำในอุตสาหกรรมน้ำแข็งแห้งและถนอมอาหาร
  7. เม็ดพลาสติกในอุตสาหกรรมส่วนมาก ทำมาจาก แก๊สอีเทนและแก๊สโพรเพน ซึ่งได้มาจากการแยกแก๊สธรรมชาติ
  8. ปัจจัยที่มีผลที่ทำให้คุณภาพน้ำมันดิบแตกต่างกัน คือ แหล่งที่พบน้ำมันดิบ
  9. การแยกน้ำมันดิบ ต้องใช้การแยกสารแบบการกลั่นลำดับส่วน
  10. สารที่จัดเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ต้องมีองค์ประกอบของธาตุ คือ คาร์บอน และ ไฮโดรเจน
  11. น้ำมันหวาน คือ น้ำมันดิบที่มีปริมาณกำมะถันต่ำ
  12. น้ำมันเบา คือ น้ำมันดิบที่มีความถ่วงจำเพาะต่ำ
  13. ขี้โล้ คือ น้ำมันดีเซลหมุนช้า ใช้ในการคมนาคมเรือขนส่ง และผลิตกระแสไฟฟ้า
  14. เมื่อ อะตอมของคาร์บอนในการกลั่นน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น สถานะของผลิตภัณฑ์จะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสถานะใกล้เคียงกับของแข็ง และมีลักษณะเหนียว ข้น หนืด
  15. สาเหตุส่วนใหญ่ที่มีการรั่วไหลน้ำมัน ดิบ คือ แท่นขุดเจาะเกิดอุบัติเหตุทั้งไฟไหม้และระเบิด เรือขนส่งน้ำมันเกิดการชนกันเอง หรือชนกับหินโสโครก
  16. สารเคมีจำพวก Slickgone เป็นสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดคราบน้ำมันดิบในทะเล ผ่านหลักการลดแรงตึงผิวของน้ำมันในน้ำทะเล
  17. เลขออกเทน เป็นสิ่งชี้วัดคุณภาพของน้ำมันเบนซิน (ผ่านประสิทธิภาพการเผาไหม้ของไอโซออกเทนและนอร์มอลเฮปเทน)
  18. เลขซีเทน เป็นสิ่งชี้วัดคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ผ่านประสิทธิภาพการเผาไหม้ของซีเทนและแอลฟาเมทิลแนฟทาลีน)
  19. พืชเศรษฐกิจที่สามารถนำมาสกัดเพื่อทำไบโอดีเซล ได้แก่ สบู่ดำ ปาล์มน้ำมัน
  20. การนำเอทานอลกับน้ำมันเบนซินมาผสมกันในอัตราส่วน 1:4 เราเรียกผลิตภัณฑ์ที่ได้ คือ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20
  21. ข้อดีของแก๊สธรรมชาติที่ใช้ในรถยนต์ คือ ไม่มีเขม่า มลพิษน้อยกว่าน้ำมัน ติดไฟยาก และเมื่อเกิดการรั่วไหล จะลอยสู่อากาศทันที
  22. องค์ประกอบของแก๊สหุงต้มโดยทั่วไป ได้แก่ แก๊สโพรเพน และแก๊สบิวเทน
  23. NGV กับ CNG คือ แก๊สธรรมชาติที่ใช้ในรถยนต์เหมือนกัน มีความแตกต่างกันที่ความดัน (CNG ใช้มากในยุโรป)
  24. เตตระเมทิลเลด เป็นต้นเหตุในการเกิดการปล่อยสารตะกั่วที่มาพร้อมกับไอเสียรถยนต์เครื่องยนต์เบนซิน
  25. พอลิเมอร์เกิดจากโมเลกุลเดี่ยวจำนวนมาก มายึดต่อกันด้วยพันธะเคมี
  26. มอนอเมอร์ของโปรตีน คือ กรดอะมิโน
  27. การ ที่มอนอเมอร์ของเอทิลีน มาทำปฏิกิริยาภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง และได้พอลิเมอร์เป็นพอลิเอทิลีน ปฏิกิริยาทั้งหมดนี้ จัดเป็นปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเติม
  28. จุดสังเกตของปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเติม คือ มอนอเมอร์ที่มาทำปฏิกิริยาจะมีพันธะคู่ระหว่างอะตอมของคาร์บอน
  29. จุด สังเกตของปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบควบแน่น คือ มอนอเมอร์มีหมู่ฟังก์ชันมากกว่า 1 หมู่ และเมื่อทำปฏิกิริยากัน นอกจากจะได้พอลิเมอร์แล้ว ยังได้สารโมเลกุลเล็กอีกด้วย เช่นน้ำ
  30. เทอร์โมเซตพลาสติก มีโครงสร้างพอลิเมอร์แบบร่างแห เนื่องจากมีความแข็งแรงของพลาสติก
  31. สมบัติโครงสร้างพอลิเมอร์แบบกิ่ง คือ มีความยืดหยุ่น ความหนาแน่นต่ำ
  32. สมบัติทางกายภาพที่สำคัญและเด่นชัดของพลาสติก คือ การอ่อนตัวหรือหลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อน ทนต่อน้ำ อากาศ
  33. หากเผาพลาสติกจะก่อให้เกิดแก๊สพิษ แต่สามารถแยกประเภทพลาสติกได้ โดยสังเกตจากสีของเปลวไฟ
  34. ข้าวเหนียว ข้าวโพด เป็นพืชที่สามารถผลิตพลาสติกชีวภาพได้ (แต่ยังเกิดการกำจัดอย่างผิดๆ อยู่ดี)
  35. หน่วย งานที่กำหนดสัญลักษณ์บ่งชี้ประเภทของพลาสติกรีไซเคิล คือ สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติก ประเทศสหรัฐอเมริกา SPI (The Society of The Plastics Industry)
  36. พลาสติกที่นำมาทำขวดน้ำดื่มทั่วไป คือ พอลิเอทีลีนเทเรฟทาเลต (PETE)
  37. ยางพารา เกิดจากมอนอเมอร์ของไอโซพรีนมารวมกัน
  38. โครงสร้างของยางพารา ที่มีการขดเป็นวงและบิดเป็นเกลียว ทำให้เกิดสมบัติความยืดหยุ่นในตัวยางพารา
  39. เหตุที่ต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของยางธรรมชาติให้ดีขึ้นเพื่อให้ทนความร้อน แสง และตัวทำละลายต่างๆ
  40. ยางสังเคราะห์ที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกับยางพารามากที่สุดคือ ยาง IR (Isoprene Rubber)
  41. เส้นใยธรรมชาติที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์มากที่สุด คือ เส้นใยจากฝ้าย
  42. องค์ประกอบหลักของเส้นใยจากธรรมชาติ(พืช) คือ เซลลูโลส
  43. ข้อดีของเส้นใยสังเคราะห์ คือ ทนต่อเชื้อราจุลินทรีย์ ไม่ยับง่าย ไม่ดูดน้ำ ทนสารเคมี ผลิตได้มากๆ
  44. ซิลิโคนมีลักษณะเฉพาะตัว ที่แตกต่างจากยางพาราอย่างเด่นได้ชัด คือ ไม่มีปฏิกิริยาต่อร่างกายหากนำมาทำอวัยวะเทียม
  45. ถังขยะมีพิษ เกิดจากปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ ขยะทางการแพทย์จำนวนมาก จนเกิดการกำจัดที่ผิดวิธี ส่งผลต่อสุขภาพของคนทั่วไป
  46. ลักษณะเฉพาะของสารชีวโมเลกุล คือ พบในสิ่งมีชีวิตเท่านั้น
  47. ไกลโคเจนเป็นคาร์โบไฮเดรตที่พบเพียงในคนและสัตว์
  48. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่มีความสำคัญต่อร่างกายมากที่สุด คือ น้ำตาลกลูโคส
  49. น้ำนมของคนและสัตว์ จะพบน้ำตาลแลกโทสและกาแลกโทสเป็นองค์ประกอบ
  50. เส้นใยอาหาร มีประโยชน์ต่อร่างกายคือ ดูดซับกลูโคสและคอเลสเทอรอลไม่ให้ดูดซึมผ่านลำไส้
  51. โครงสร้างของพอลิแซคคาไรด์ที่แตกต่างจากพวก คือ ไกลโคเจน เป็นโครงสร้างแบบกิ่ง ส่วนแป้งและเซลลูโลสเป็นโครงสร้างแบบเส้นตรง
  52. ปฏิกิริยาการหมัก เป็นปฏิกิริยาที่แปรสภาพแป้งให้เป็นเอทานอล ผ่านยีสต์เป็นตัวทำปฏิกิริยา
  53. กลไกในการดึงไกลโคเจนที่สะสมไว้ในร่างกายมาใช้ประโยชน์ ต้องอาศัยปฏิกิริยาการหายใจระดับเซลล์
  54. อินซูลิน เป็นสารจำพวกโปรตีน
  55. ไตรกลีเซอไรด์ เกิดจากการรวมตัวของกรดไขมัน 3 โมเลกุลและกลีเซอรอล 1 โมเลกุล
  56. ไขมันเรียกเมื่ออยู่ในสถานะของแข็ง น้ำมันเรียกเมื่ออยู่ในสถานะของเหลว
  57. กรดไขมัน มีหมู่ฟังก์ชัน –COOH หรือหมู่ฟังก์ชันคาร์บอกซิล
  58. กรดไขมันที่มีพันธะเดี่ยวตลอดเส้น จัดเป็นกรดไขมันอิ่มตัว กรดไขมันที่มีพันธะคู่บางจุดหรือพันธะสามบางจุด จัดเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว
  59. น้ำมันพืชบางประเภทมีปริมาณกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากกว่าน้ำมันสัตว์ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับองค์ประกอบภายในน้ำมันแต่ละชนิด
  60. เราเรียกกรดไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ไม่ได้ แต่ร่างกายต้องการจากสารอาหารว่า กรดไขมันจำเป็น
  61. ปฏิกิริยา Hydrogenate พบในอุตสาหกรรมการทำเนยเทียม มาการีน ครีมเทียม
  62. ประโยชน์ของวิตามิน E ในน้ำมันพืช เพื่อลดและชะลอกลิ่นเหม็นหืนในน้ำมัน
  63. ประโยชน์ ของคอเลสเทอรอล คือ สร้างสารตั้งต้นของฮอร์โมนเพศ สร้างน้ำดี เป็นฉนวนเส้นประสาท ที่สำคัญ เป็นตัวแปลงแสงอาทิตย์ให้เป็นวิตามินดี (รับในปริมาณพอดี)
  64. ลิปสติก จัดเป็นไขชนิดหนึ่ง
  65. โปรตีน มีองค์ประกอบหมู่ฟังก์ชัน –NH2 หรือหมู่อะมิโน ที่เป็นเบส และ หมู่ฟังก์ชัน –COOH หรือหมู่คาร์บอกซิลที่เป็นกรด
  66. พันธะที่เชื่อมระหว่างกรดอะมิโน เรียกว่า พันธะเพปไทด์
  67. กระบวนการที่ทำให้โปรตีนไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม เมื่อสัมผัสความร้อน สารกรด-เบส เรียกการแปลงสภาพโปรตีน
  68. DNA กับ RNA ต่างกันตรงที่องค์ประกอบ โดย DNA มีน้ำตาลดีออกซีไรโบส หมู่ฟอสเฟต เบส A G C T ส่วน RNA มีน้ำตาลไรโบส หมู่ฟอสเฟต และเบส A G C U
  69. การทดสอบแป้ง จะใช้สารละลายไอโอดีน โดยเปลี่ยนจากน้ำตาลเป็นน้ำเงินหรือม่วง
  70. การทดสอบโปรตีน ใช้สารละลายไบยูเรต (โซเดียมไฮดรอกไซด์+คอปเปอร์ซัลเฟต) โดยเปลี่ยนจากฟ้า เป็นม่วง
  71. การ ทดสอบน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและคู่ (ไม่รวมซูโครส) จะใช้สารละลายเบเนดิกต์ เร่งปฏิกิริยาด้วยการนำไปต้ม โดยเปลี่ยนจากฟ้าเป็นเขียว เหลือง น้ำตาล และแดงอิฐ ส่วนน้ำตาลซูโครสต้องหยดกรดไฮโดรคลอริกผสมไปด้วย ถึงจะได้ผลออกมาเช่นกัน (ให้กรดสลายพันธะให้เหลือน้ำตาลกลูโคสและซูโครส)
  72. การทดสอบน้ำตาลผ่านแป้ง ต้องหยดกรดไฮโดรคลอริก ให้เข้าไปสลายพันธะเคมีให้เหลือเพียงกลูโคส ถึงจะสามารถใช้ชุดทดสอบเบเนดิกต์ได้
  73. การทดสอบหากรดไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันไม่อิ่มตัว จะใช้การนำน้ำมันไปต้ม แล้วหยดด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน แล้วนับจำนวนหยด
  74. การทดสอบว่าอาหารนี้มีไขมันหรือไม่ ทำได้โดยกระดาษขาวทาบ หากพบไขมัน กระดาษจะโปร่งแสง
  75. ในการทำน้ำมันไบโอดีเซล โซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นเพียงตัวเร่งปฏิกิริยาเท่านั้น