วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

รวมมิตรเคมี - เคมีพื้นฐาน ม.4 ปิโตรเลียม-พอลิเมอร์-สารชีวโมเลกุล

เคมีพื้นฐาน ม.4 ปิโตรเลียม-พอลิเมอร์-สารชีวโมเลกุล
  1. ประโยชน์ของปิโตรเลียม คือการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านปิโตรเคมี ปุ๋ยเคมี และเชื้อเพลิงคมนาคม
  2. ปิโตรเลียมประกอบด้วยน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ
  3. ประโยชน์ของชั้นหินทึบในการกักเก็บปิโตรเลียมใต้ดิน คือ ป้องกันการระเหยของปิโตรเลียม
  4. หลักการสำคัญที่นำมาใช้ในการสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียมใต้ดิน คือ การใช้คลื่นเสียงสะท้อน
  5. องค์ประกอบหลักของแก๊สธรรมชาติ คือ ก๊าซมีเทน
  6. ผลพลอยได้จากการแยกแก๊สธรรมชาติ ในส่วนที่เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนใหญ่นำไปทำในอุตสาหกรรมน้ำแข็งแห้งและถนอมอาหาร
  7. เม็ดพลาสติกในอุตสาหกรรมส่วนมาก ทำมาจาก แก๊สอีเทนและแก๊สโพรเพน ซึ่งได้มาจากการแยกแก๊สธรรมชาติ
  8. ปัจจัยที่มีผลที่ทำให้คุณภาพน้ำมันดิบแตกต่างกัน คือ แหล่งที่พบน้ำมันดิบ
  9. การแยกน้ำมันดิบ ต้องใช้การแยกสารแบบการกลั่นลำดับส่วน
  10. สารที่จัดเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ต้องมีองค์ประกอบของธาตุ คือ คาร์บอน และ ไฮโดรเจน
  11. น้ำมันหวาน คือ น้ำมันดิบที่มีปริมาณกำมะถันต่ำ
  12. น้ำมันเบา คือ น้ำมันดิบที่มีความถ่วงจำเพาะต่ำ
  13. ขี้โล้ คือ น้ำมันดีเซลหมุนช้า ใช้ในการคมนาคมเรือขนส่ง และผลิตกระแสไฟฟ้า
  14. เมื่อ อะตอมของคาร์บอนในการกลั่นน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น สถานะของผลิตภัณฑ์จะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสถานะใกล้เคียงกับของแข็ง และมีลักษณะเหนียว ข้น หนืด
  15. สาเหตุส่วนใหญ่ที่มีการรั่วไหลน้ำมัน ดิบ คือ แท่นขุดเจาะเกิดอุบัติเหตุทั้งไฟไหม้และระเบิด เรือขนส่งน้ำมันเกิดการชนกันเอง หรือชนกับหินโสโครก
  16. สารเคมีจำพวก Slickgone เป็นสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดคราบน้ำมันดิบในทะเล ผ่านหลักการลดแรงตึงผิวของน้ำมันในน้ำทะเล
  17. เลขออกเทน เป็นสิ่งชี้วัดคุณภาพของน้ำมันเบนซิน (ผ่านประสิทธิภาพการเผาไหม้ของไอโซออกเทนและนอร์มอลเฮปเทน)
  18. เลขซีเทน เป็นสิ่งชี้วัดคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ผ่านประสิทธิภาพการเผาไหม้ของซีเทนและแอลฟาเมทิลแนฟทาลีน)
  19. พืชเศรษฐกิจที่สามารถนำมาสกัดเพื่อทำไบโอดีเซล ได้แก่ สบู่ดำ ปาล์มน้ำมัน
  20. การนำเอทานอลกับน้ำมันเบนซินมาผสมกันในอัตราส่วน 1:4 เราเรียกผลิตภัณฑ์ที่ได้ คือ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20
  21. ข้อดีของแก๊สธรรมชาติที่ใช้ในรถยนต์ คือ ไม่มีเขม่า มลพิษน้อยกว่าน้ำมัน ติดไฟยาก และเมื่อเกิดการรั่วไหล จะลอยสู่อากาศทันที
  22. องค์ประกอบของแก๊สหุงต้มโดยทั่วไป ได้แก่ แก๊สโพรเพน และแก๊สบิวเทน
  23. NGV กับ CNG คือ แก๊สธรรมชาติที่ใช้ในรถยนต์เหมือนกัน มีความแตกต่างกันที่ความดัน (CNG ใช้มากในยุโรป)
  24. เตตระเมทิลเลด เป็นต้นเหตุในการเกิดการปล่อยสารตะกั่วที่มาพร้อมกับไอเสียรถยนต์เครื่องยนต์เบนซิน
  25. พอลิเมอร์เกิดจากโมเลกุลเดี่ยวจำนวนมาก มายึดต่อกันด้วยพันธะเคมี
  26. มอนอเมอร์ของโปรตีน คือ กรดอะมิโน
  27. การ ที่มอนอเมอร์ของเอทิลีน มาทำปฏิกิริยาภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง และได้พอลิเมอร์เป็นพอลิเอทิลีน ปฏิกิริยาทั้งหมดนี้ จัดเป็นปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเติม
  28. จุดสังเกตของปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเติม คือ มอนอเมอร์ที่มาทำปฏิกิริยาจะมีพันธะคู่ระหว่างอะตอมของคาร์บอน
  29. จุด สังเกตของปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบควบแน่น คือ มอนอเมอร์มีหมู่ฟังก์ชันมากกว่า 1 หมู่ และเมื่อทำปฏิกิริยากัน นอกจากจะได้พอลิเมอร์แล้ว ยังได้สารโมเลกุลเล็กอีกด้วย เช่นน้ำ
  30. เทอร์โมเซตพลาสติก มีโครงสร้างพอลิเมอร์แบบร่างแห เนื่องจากมีความแข็งแรงของพลาสติก
  31. สมบัติโครงสร้างพอลิเมอร์แบบกิ่ง คือ มีความยืดหยุ่น ความหนาแน่นต่ำ
  32. สมบัติทางกายภาพที่สำคัญและเด่นชัดของพลาสติก คือ การอ่อนตัวหรือหลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อน ทนต่อน้ำ อากาศ
  33. หากเผาพลาสติกจะก่อให้เกิดแก๊สพิษ แต่สามารถแยกประเภทพลาสติกได้ โดยสังเกตจากสีของเปลวไฟ
  34. ข้าวเหนียว ข้าวโพด เป็นพืชที่สามารถผลิตพลาสติกชีวภาพได้ (แต่ยังเกิดการกำจัดอย่างผิดๆ อยู่ดี)
  35. หน่วย งานที่กำหนดสัญลักษณ์บ่งชี้ประเภทของพลาสติกรีไซเคิล คือ สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติก ประเทศสหรัฐอเมริกา SPI (The Society of The Plastics Industry)
  36. พลาสติกที่นำมาทำขวดน้ำดื่มทั่วไป คือ พอลิเอทีลีนเทเรฟทาเลต (PETE)
  37. ยางพารา เกิดจากมอนอเมอร์ของไอโซพรีนมารวมกัน
  38. โครงสร้างของยางพารา ที่มีการขดเป็นวงและบิดเป็นเกลียว ทำให้เกิดสมบัติความยืดหยุ่นในตัวยางพารา
  39. เหตุที่ต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของยางธรรมชาติให้ดีขึ้นเพื่อให้ทนความร้อน แสง และตัวทำละลายต่างๆ
  40. ยางสังเคราะห์ที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกับยางพารามากที่สุดคือ ยาง IR (Isoprene Rubber)
  41. เส้นใยธรรมชาติที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์มากที่สุด คือ เส้นใยจากฝ้าย
  42. องค์ประกอบหลักของเส้นใยจากธรรมชาติ(พืช) คือ เซลลูโลส
  43. ข้อดีของเส้นใยสังเคราะห์ คือ ทนต่อเชื้อราจุลินทรีย์ ไม่ยับง่าย ไม่ดูดน้ำ ทนสารเคมี ผลิตได้มากๆ
  44. ซิลิโคนมีลักษณะเฉพาะตัว ที่แตกต่างจากยางพาราอย่างเด่นได้ชัด คือ ไม่มีปฏิกิริยาต่อร่างกายหากนำมาทำอวัยวะเทียม
  45. ถังขยะมีพิษ เกิดจากปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ ขยะทางการแพทย์จำนวนมาก จนเกิดการกำจัดที่ผิดวิธี ส่งผลต่อสุขภาพของคนทั่วไป
  46. ลักษณะเฉพาะของสารชีวโมเลกุล คือ พบในสิ่งมีชีวิตเท่านั้น
  47. ไกลโคเจนเป็นคาร์โบไฮเดรตที่พบเพียงในคนและสัตว์
  48. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่มีความสำคัญต่อร่างกายมากที่สุด คือ น้ำตาลกลูโคส
  49. น้ำนมของคนและสัตว์ จะพบน้ำตาลแลกโทสและกาแลกโทสเป็นองค์ประกอบ
  50. เส้นใยอาหาร มีประโยชน์ต่อร่างกายคือ ดูดซับกลูโคสและคอเลสเทอรอลไม่ให้ดูดซึมผ่านลำไส้
  51. โครงสร้างของพอลิแซคคาไรด์ที่แตกต่างจากพวก คือ ไกลโคเจน เป็นโครงสร้างแบบกิ่ง ส่วนแป้งและเซลลูโลสเป็นโครงสร้างแบบเส้นตรง
  52. ปฏิกิริยาการหมัก เป็นปฏิกิริยาที่แปรสภาพแป้งให้เป็นเอทานอล ผ่านยีสต์เป็นตัวทำปฏิกิริยา
  53. กลไกในการดึงไกลโคเจนที่สะสมไว้ในร่างกายมาใช้ประโยชน์ ต้องอาศัยปฏิกิริยาการหายใจระดับเซลล์
  54. อินซูลิน เป็นสารจำพวกโปรตีน
  55. ไตรกลีเซอไรด์ เกิดจากการรวมตัวของกรดไขมัน 3 โมเลกุลและกลีเซอรอล 1 โมเลกุล
  56. ไขมันเรียกเมื่ออยู่ในสถานะของแข็ง น้ำมันเรียกเมื่ออยู่ในสถานะของเหลว
  57. กรดไขมัน มีหมู่ฟังก์ชัน –COOH หรือหมู่ฟังก์ชันคาร์บอกซิล
  58. กรดไขมันที่มีพันธะเดี่ยวตลอดเส้น จัดเป็นกรดไขมันอิ่มตัว กรดไขมันที่มีพันธะคู่บางจุดหรือพันธะสามบางจุด จัดเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว
  59. น้ำมันพืชบางประเภทมีปริมาณกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากกว่าน้ำมันสัตว์ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับองค์ประกอบภายในน้ำมันแต่ละชนิด
  60. เราเรียกกรดไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ไม่ได้ แต่ร่างกายต้องการจากสารอาหารว่า กรดไขมันจำเป็น
  61. ปฏิกิริยา Hydrogenate พบในอุตสาหกรรมการทำเนยเทียม มาการีน ครีมเทียม
  62. ประโยชน์ของวิตามิน E ในน้ำมันพืช เพื่อลดและชะลอกลิ่นเหม็นหืนในน้ำมัน
  63. ประโยชน์ ของคอเลสเทอรอล คือ สร้างสารตั้งต้นของฮอร์โมนเพศ สร้างน้ำดี เป็นฉนวนเส้นประสาท ที่สำคัญ เป็นตัวแปลงแสงอาทิตย์ให้เป็นวิตามินดี (รับในปริมาณพอดี)
  64. ลิปสติก จัดเป็นไขชนิดหนึ่ง
  65. โปรตีน มีองค์ประกอบหมู่ฟังก์ชัน –NH2 หรือหมู่อะมิโน ที่เป็นเบส และ หมู่ฟังก์ชัน –COOH หรือหมู่คาร์บอกซิลที่เป็นกรด
  66. พันธะที่เชื่อมระหว่างกรดอะมิโน เรียกว่า พันธะเพปไทด์
  67. กระบวนการที่ทำให้โปรตีนไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม เมื่อสัมผัสความร้อน สารกรด-เบส เรียกการแปลงสภาพโปรตีน
  68. DNA กับ RNA ต่างกันตรงที่องค์ประกอบ โดย DNA มีน้ำตาลดีออกซีไรโบส หมู่ฟอสเฟต เบส A G C T ส่วน RNA มีน้ำตาลไรโบส หมู่ฟอสเฟต และเบส A G C U
  69. การทดสอบแป้ง จะใช้สารละลายไอโอดีน โดยเปลี่ยนจากน้ำตาลเป็นน้ำเงินหรือม่วง
  70. การทดสอบโปรตีน ใช้สารละลายไบยูเรต (โซเดียมไฮดรอกไซด์+คอปเปอร์ซัลเฟต) โดยเปลี่ยนจากฟ้า เป็นม่วง
  71. การ ทดสอบน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและคู่ (ไม่รวมซูโครส) จะใช้สารละลายเบเนดิกต์ เร่งปฏิกิริยาด้วยการนำไปต้ม โดยเปลี่ยนจากฟ้าเป็นเขียว เหลือง น้ำตาล และแดงอิฐ ส่วนน้ำตาลซูโครสต้องหยดกรดไฮโดรคลอริกผสมไปด้วย ถึงจะได้ผลออกมาเช่นกัน (ให้กรดสลายพันธะให้เหลือน้ำตาลกลูโคสและซูโครส)
  72. การทดสอบน้ำตาลผ่านแป้ง ต้องหยดกรดไฮโดรคลอริก ให้เข้าไปสลายพันธะเคมีให้เหลือเพียงกลูโคส ถึงจะสามารถใช้ชุดทดสอบเบเนดิกต์ได้
  73. การทดสอบหากรดไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันไม่อิ่มตัว จะใช้การนำน้ำมันไปต้ม แล้วหยดด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน แล้วนับจำนวนหยด
  74. การทดสอบว่าอาหารนี้มีไขมันหรือไม่ ทำได้โดยกระดาษขาวทาบ หากพบไขมัน กระดาษจะโปร่งแสง
  75. ในการทำน้ำมันไบโอดีเซล โซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นเพียงตัวเร่งปฏิกิริยาเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น