วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

พระพุทธศาสนา ม.4-6 หน่วยที่ 5-12

พระพุทธศาสนา ม.4-6 หน่วยที่ 5-12

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้องในทางพระพุทธศาสนา
1. ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง ความเชื่อที่อยู่บนหลักของเหตุและผลในคุณงามความดี
2. ความเชื่อในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ กัมมสัทธา วิปากสัทธา กัมมัสสกตาสัทธา และตถาคตโพธิสัทธา
3. “กรรมใดใครก่อ ผลของกรรมนั้นย่อมคืนสนอง” ข้อความนี้ หมายถึง ผลของกรรมนั้นมีอยู่จริง (วิปากสัทธา)
4. พระคุณทั้ง 9 ประการของพระพุทธเจ้านั้น สอดคล้องกับหลักศรัทธาในทางพระพุทธศาสนา ในหัวข้อ ตถาคตโพธิสัทธา
5. “กฎแห่งกรรม” สอดคล้องกับหลัก กัมมสัทธา
6. ความดีของมนุษย์สร้างขึ้นมาได้ต้องอาศัยปัจจัยที่ว่ามนุษย์ต้องมีความเพียร
7. หลักศรัทธาทำให้เรารู้ต่อไปได้อีกว่า ทุกสิ่งย่อมมีเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น และมีผลของสิ่งนั้นๆ ตามมา
8. ปัญญาแบ่งตามการรับรู้ได้ 2 ประเภท คือ ปัญญาทางโลก และปัญญาทางธรรม
9. หลักโกศล 3 เป็นหลักที่อธิบายประเภทของความรู้ที่ควรพัฒนาใน 3 ลักษณะ
10. “การทดลองวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์” จัดเป็นความรู้ที่ได้จากการศึกษาเล่าเรียนและฝึกฝน หรือ โยคะปัญญา
11. ไตรสิกขา 3 ประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา
12. ความรู้จักเหตุแต่ความเสื่อมและโทษความเสื่อม ความเสื่อมในที่นี้ ตรงกับหลักในทางพระพุทธศาสนาข้อ อบายมุข 6
13. ในสังคมปัจจุบันมีความเชื่อแบบฝังหัวเป็นส่วนใหญ่
14. ปัญญาที่ดี คือ ปัญญาที่ลงมือปฏิบัติจริง หรือ ภาวนามยปัญญา
15. ปัญญาระดับอริยบุคคล คือ ปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติจนบรรลุอริยสัจ 4
16. ปัญญาระดับล่าง คือ ปัญญาที่สอดคล้องกับหลักโกศล 3
17. ศรัทธาที่พึงประสงค์นั้น ควรเป็นความเชื่อที่มีปัญญา หรือเหตุผลมารองรับความเชื่อนั้นๆ ว่ามีเหตุปัจจัยในตัวของมันเอง
18. หลักโยนิโสมนสิการ เป็นหลักในการพัฒนาปัญญาได้ โดยเฉพาะการใช้หลักนี้ในข้อที่ว่าหลักการคิดแบบสืบสาวหาเหตุปัจจัยของสิ่งนั้นๆ
19. หลักหัวใจนักปราชญ์ (สุ จิ ปุ ลิ) เป็นหลักธรรมที่สำคัญในการพัฒนาปัญญาของคนเราในขั้นต้น ก่อนไปสู่การปฏิบัติจริง
20. การรู้แบบครบวงจร คือ การรู้ถึงความเสื่อมและเหตุของความเสื่อม รู้แล้วต้องหลีกเลี่ยงแก้ไขความเสื่อม และรู้ถึงวิธีการสร้างความเจริญให้คงอยู่และส่งเสริมให้ดียิ่งๆขึ้นไปด้วย หรือรู้ทั้งสองด้าน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
21. พระพุทธศาสนา มีพระธรรมวินัยเป็นธรรมนูญสูงสุด แบ่งเป็นพระธรรม เป็นหลักคำสอน ส่วนพระวินัย คือ คำสั่งอันเป็นข้อปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าบัญญัติขึ้น
22. วิธีเยภุยยสิกา คือ วิธีตัดสินคดีในทางพระพุทธศาสนาในทางพระสงฆ์ โดยใช้เสียงข้างมากสนับสนุน
23. ลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา คือ ยึดในหลักทางสายกลาง ไม่เอนเอียงไปซ้ายหรือขวา
24. “การได้รับอานิสงส์กฐิน” แสดงให้เห็นว่าพระสงฆ์นั้นได้รับความเท่าเทียมกันในเรื่องสิทธิ เสรีภาพภายใต้พระธรรมวินัย
25. ลักษณะประชาธิปไตยของพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล มีจุดประสงค์สำคัญเพื่อให้ผู้ที่หันมานับถือพระพุทธศาสนาไม่แบ่งแยกชนชั้นวรรณะกัน ทุกคนเท่าเทียมกันหมด
26. สถานที่ประชุมของสงฆ์เพื่อทำสังฆกรรม เราเรียกว่า สีมา
27. ลักษณะของญัตติจตุตถกรรม คือ เป็นการประชุมที่มีการแจ้งให้ทราบ 1 ครั้งและประกาศขอความเห็น 3 ครั้ง
28. เสรีภาพที่สำคัญในทางพระพุทธศาสนา เช่น การศึกษาพระพุทธศาสนา ในภาษาใดก็ได้ ปฏิบัติคล้อยตามกฎหมายของประเทศของตนพำนักอยู่
29. ปัจจัยที่มีผลให้เกิดข้อแตกต่างระหว่างมหายาน และหินยาน คือ การถอนสิกขาบทที่เห็นว่าเล็กน้อย ซึ่งฝ่ายหินยานไม่มีการถอนใดๆ แต่มหายานมีการถอน ซึ่งเวลาล่วงไปก็มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ
30. ธรรมาธิปไตยนั้น ต้องละตัณหา ทิฐิ และมานะ
31. ความยึดติดในอุดมการณ์ของตน โดยไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การกระทำเช่นนี้ ถือว่าเป็นทิฐิ
32. ความอยากได้ในสิ่งต่างๆ เพื่อให้ลุแก่อำนาจของตน เราเรียกว่า ตัณหา
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 หลักการพระพุทธศาสนากับหลักการวิทยาศาสตร์
33. วัตถุนิยม คือ เชื่อว่าวัตถุต่างๆ มีอยู่จริง
34. ในทางพระพุทธศาสนา เน้นความสุขทางใจมากกว่าความสุขทางวัตถุ
35. โดยมากแล้ว พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่ไปในแนวทางนามธรรม คือ ความดี ความชั่ว
36. ข้อเสียของการให้เห็นมูลค่าของสิ่งต่างๆ คือ ทำให้คนหลงในความสุขทางวัตถุและมีความฟุ่มเฟือย
37. สิ่งที่พระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์มีความเหมือนกันอย่างเห็นได้ชัด คือ การเชื่อในหลักของเหตุและผล
38. การคิดในทางวิทยาศาสตร์นั้นมีข้อจำกัดที่ว่า การคิดในลักษณะนี้ไม่สามารถก้าวข้ามในเรื่องของนามธรรมหรือจิตใจได้
39. วิธีการคิดของพระพุทธศาสนา มีความคล้ายคลึงกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์
40. กฎสากลต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ แล้วนำไปคิดหาเหตุและผล จากสิ่งต่างๆ ในช่วงเวลาอดีต ปัจจุบันและอนาคต
41. พระพุทธศาสนานั้นให้ความสำคัญเรื่องการมุ่งให้คนเราเป็นคนดี ทั้งกาย วาจา ใจ ตลอดจนจุดหมายสูงสุดคือเน้นความสงบ ความสุขทางใจ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 การฝึกฝน การพัฒนาตนเอง การพึ่งตนเอง และการมุ่งอิสรภาพในพระพุทธศาสนา
42. หลักของศาสนาพราหมณ์ คือ พระพรหมเป็นผู้สร้างโลก และเทพเจ้าบันดาลทุกสิ่ง
43. “เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก เราคือผู้เป็นใหญ่แห่งโลก” ข้อความนี้แสดงให้เห็นถึงพระปณิธานที่เจ้าชายสิทธัตถะประสงค์จะประกาศอิสรภาพของมนุษย์
44. พุทธะ ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธะ พระอนุพุทธะ
45. การมีความเชื่อและศรัทธาพื้นฐานในเรื่องศักยภาพในการพัฒนาตนของมนุษย์ จัดเป็นการมองจากข้างนอกเข้าไปในตนเอง
46. ในสมัยก่อนพุทธกาล เหตุที่ทำให้คนต้องมาบนบานแก่เทพเจ้าทั้งหลาย เพราะเชื่อว่าเทพเจ้าทั้งหลายสามารถบันดาลได้ทุกสิ่งอย่างบนโลกใบนี้
47. จุดมุ่งหมายในการพัฒนาตนเอง คือ ทำให้ตนนั้นไม่ต้องไปพึ่งเทพเจ้าต่างๆ อีกต่อไป
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 พระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์แห่งการศึกษาซึ่งเน้นความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยและวิธีการแก้ปัญหา
48. หลักการศึกษาในทางพระพุทธศาสนา เรียก ไตรสิกขา 3
49. เงื่อนไขสำคัญในการพัฒนาตนของมนุษย์ คือ การศึกษา
50. ผู้ที่ได้รับการศึกษาตามหลักไตรสิกขาโดยสมบูรณ์ ในทางพระพุทธศาสนาจะเรียกว่า บัณฑิตหรือพระอรหันต์
51. ภาวิตบุคคล หมายถึงบุคคลที่พัฒนาแล้ว
52. การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างมีสติ เราเรียกพฤติกรรมนี้ว่า ภาวิตกาย
53. หลักปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักวัฏสงสารที่มีเหตุปัจจัยในตัว
54. “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น...” ข้อความนี้เป็นกระบวนการของเหตุปัจจัยสัมพันธ์
55. ปุริสทัมม์ ในทางพระพุทธศาสนาหมายถึง ผู้ที่ควรแก่การฝึกและศึกษา
หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 พระพุทธศาสนาฝึกตนไม่ให้ประมาท มุ่งประโยชน์และสันติภาพแก่บุคคล สังคมและโลก
56. สติอวิปปวาส หมายถึง ความไม่ประมาท
57. หลักอภิณหปัจจเวกขณ์ 5 แสดงให้เห็นถึงทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้ต้องพิจารณาว่าเป็นเรื่องธรรมดา
58. หลักสูงสุดในการฝึกตนไม่ให้ประมาท คือ หลักสติปัฏฐาน 4
59. เหตุที่ “ความไม่ประมาทเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา” นั้นคือ ผู้ที่บรรลุพระนิพพาน ถือว่าเป็นผู้บรรลุถึงความไม่ประมาทอย่างสมบูรณ์
60. “รัก โลภ โกรธ หลง” เป็นสี่สถานที่ไม่ควรประมาทในการฝึกตน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 พระพุทธศาสนากับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน
61. “อตฺตา หิ อตฺตาโน นาโถ” เป็นเป้าหมายหลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
62. ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ความพอเพียง” หมายถึงความพอประมาณและความมีเหตุผล
63. สาเหตุที่ต้องมีการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน คือ การพัฒนาประเทศที่ผิดๆ สร้างปัญหาต่างๆ ตามมา และทำให้คนมีความทุกข์
64. ธรรมประจำใจอันประเสริฐในการพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ พรหมวิหาร 4
65. ความตระหนี่ ความหวง จัดเป็นมัจฉริยะ
66. หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียง คือ มัตตัญญุตา สันโดษ การพึ่งตนเอง มัชฌิมาปฏิปทา ธัมมัญญุตาและอัตถัญญุตา
67. สันโดษในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง ความมักน้อย แต่ไม่ใช่การอยู่ตัวคนเดียว
68. การประกอบอาชีพอย่างสุจริตยุติธรรม สอดคล้องกับหลัก สัมมาอาชีวะ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 ความสำคัญของพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับการศึกษาที่สมบูรณ์ การเมืองและสันติภาพ
69. ในทางพระพุทธศาสนา ปัญญาแบ่งออกเป็น สหชาติปัญญา นิปากปัญญา และวิปัสสนาปัญญา
70. กระบวนการในการรับความรู้ รับปัญญา คือ ฟัง คิด ทำ
71. การเกิดสัมมาทิฏฐินั้น มีเหตุจากคนรอบข้างและความคิดจากการกระตุ้นภายใน
72. การศึกษาเชิงพุทธ เน้นสมดุลในด้านความเจริญทางวัตถุและจิตใจ
73. หลักในการเคารพกันของพระพุทธศาสนานั้น ยึดหลักอาวุโสเป็นสำคัญ
74. การที่นักปกครอง ปกครองแบบเห็นแก่ประโยชน์ตนเป็นสำคัญ เรียกระบบการปกครองแบบอัตตาธิปไตย
75. จากหลักอปริหานิยธรรม 7 ชี้ให้เห็นว่า ทุกคนเสมอภาคกันไม่ว่าสตรีหรือบุรุษ
76. ตัวอย่างทางศีลธรรมของประชาชน หมายถึง สามเณรและพระสงฆ์
77. เครื่องยึดเหนี่ยวในทางพระพุทธศาสนานั้น มีความสำคัญ คือ เป็นเครื่องเกิดความสามัคคีกลมเกลียว สนิทสนมและผูกพัน
78. ความเป็นคนมีตนสม่ำเสมอ หมายถึง การไม่ถือตนเอง ไม่เย่อหยิ่ง
79. พุทธธรรมของนักปกครอง คือ หลักทศพิธราชธรรม
80. ความไม่เย่อหยิ่งในหลักทศพิธราชธรรมเรียกว่า มัททวะ
81. สังคหวัตถุ 4 กับ ราชสังคหวัตถุ 4 ต่างกันคือ สังคหวัตถุ 4 เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของคนทั่วไป ขณะที่ราชสังคหวัตถุ 4 เป็นหลักการสงเคราะห์ของพระราชาหรือนักปกครอง
82. ธรรมเนียมการทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจของนักปกครอง เรียกว่า จักรวรรดิวัตร

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น