วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สรุปเนื้อหาเศรษฐศาสตร์ ม.4-5-6 (มหภาค-ภาวะเศรษฐกิจ+ระหว่างประเทศ)

สรุปเนื้อหาเศรษฐศาสตร์ ม.4-5-6 (การเงิน-มหภาค-ระหว่างประเทศ)

*****งบประมาณแผ่นดิน เริ่มต้น 1 ตุลาคมและสิ้นสุดใน 30 กันยายนของปีถัดไป*****
- งบประมาณของรัฐบาล แบ่งออกเป็น
1. งบประมาณแบบสมดุล (รายรับเท่ากับรายจ่าย) เป็นงบประมาณที่มีข้อจำกัดในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ภาวะเงินฝืด อัตราว่างงานสูง ไม่ยืดหยุ่น และไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้
2. งบประมาณแบบขาดดุล (รายรับน้อยกว่ารายจ่าย) เป็นงบประมาณที่มีการนำรายรับจากเงินกู้และ/หรือเงินคงคลังมาชดเชยการขาดดุล (หากมาใช้ถูกต้อง จะช่วยในการเพิ่มผลผลิต การลงทุนและจ้างงาน)
3. งบประมาณแบบเกินดุล (รายรับมากกว่ารายจ่าย) เป็นงบประมาณเพื่อเก็บเงินส่วนเกินเข้าเงินคงคลัง
- รายได้รัฐบาล ได้มาจาก
1. ภาษี เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาช่องว่างระหว่างรายได้ (กระจายรายได้กับประชาชน) ควบคุมการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยและคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศ
2. กำไรจากรัฐวิสาหกิจ
3. การขายทรัพย์สินราชการ-ปล่อยเช่าทรัพยากรของประเทศ
4. ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- บทบาทของรัฐบาลทางเศรษฐกิจ
1. ผลิตสินค้าบริการที่จำเป็น
2. จัดสรรทรัพยากรและกระจายรายได้
3. รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
4. ส่งเสริมการลงทุนทั้งในและระหว่างประเทศ
- หนี้สาธารณะ (Public Debt) เกิดจากการกู้ยืมและค้ำประกันเงินกู้ ชำระโดยการเรียกเก็บภาษีทั้งประเทศ แบ่งออกเป็น
*หนี้สาธารณะภายในประเทศ จากการกู้จากสถาบันการเงินด้วยการขายพันธบัตรและตั๋วคลัง และจากธนาคารกลางโดยการพิมพ์ธนบัตรใส่เข้าไปในระบบ
*หนี้สาธารณะระหว่างประเทศ จากการกู้จากสถาบันการเงินต่างประเทศหรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
ลักษณะภาวะเศรษฐกิจ
1. เงินเฟ้อ **วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภค CPI** มีลักษณะสินค้ามีราคาสูง //ปริมาณเงินเท่าเดิม ซื้อสินค้าได้ปริมาณลดลง// (เงินเฟ้อระดับอ่อน จะส่งเสริมการลงทุนในประเทศได้ดี)
สาเหตุ : ต้นทุนการผลิตสูง ความต้องการสินค้าสูง
ผลกระทบ : ในด้านบวกกับผู้ที่มีความคล่องตัวทางเศรษฐกิจ ผู้ผลิต ผู้ถือหุ้น และลูกหนี้ และในด้านลบกับผู้ที่มีรายได้ประจำ และเจ้าหนี้
2. เงินฝืด มีลักษณะสินค้ามีราคาต่ำ (เงินฝืดระดับอ่อน จะกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย) //แต่เมื่อใดที่ประชาชนขาดรายได้ อำนาจซื้อลดลง จะทำให้เกิดภาวะฟองสบู่เศรษฐกิจแตกได้//
สาเหตุ : ขาดแคลนเงินทุนและเงินออม อุปทานเพิ่มสวนทางกับอุปสงค์ที่ลดลง และภาครัฐดำเนินนโยบายผิดพลาด
ผลกระทบ : ในด้านบวกกับผู้ที่มีรายได้ประจำ และเจ้าหนี้ และในด้านลบกับผู้ที่มีความคล่องตัวทางเศรษฐกิจ ผู้ผลิต ผู้ถือหุ้น และลูกหนี้ 
3. เงินตึง เกิดจากภาวะเงินเฟ้อและการขาดดุลการค้า (แก้ไขโดยดุลการชำระเงิน)
- นโยบายการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (กรณีเข้มงวดใช้สำหรับเงินเฟ้อ และกรณีผ่อนคลายใช้สำหรับเงินฝืด) เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
1. นโยบายการเงิน ผู้ใช้ คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย 
นโยบายผ่อนคลาย : ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เปิดซื้อคืนพันธบัตร ลดอัตราเงินสดสำรอง ส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ
นโยบายเข้มงวด : เปิดขายพันธบัตร จำกัดสินเชื่อ เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพิ่มอัตราเงินสดสำรอง ส่งเสริมการซื้อขายหลักทรัพย์ ดึงเงินเข้าสู่สถาบันการเงิน
2. นโยบายการคลัง ผู้ใช้ คือ รัฐบาล
นโยบายผ่อนคลาย : เพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล ลดการเก็บภาษี ทำงบประมาณขาดดุล เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ แก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอยและอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น
นโยบายเข้มงวด : ลดการใช้จ่ายของรัฐบาล เพิ่มการเก็บภาษี ทำงบประมาณการดุล เป็นการชะลอการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เร็วจนเกินไป
**มาตรการภาษีอากร : เพื่อการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม เน้นภาษีเงินได้ทางตรงอัตราก้าวหน้า และส่งเสริมการลงทุน โดยการเก็บภาษีจากกิจการในอัตราที่ต่ำ
**มาตรการเงินกู้ : เกิดขึ้นในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เอกชนลดการลงทุน
- ดุลการชำระเงิน แบ่งออกเป็น
1. บัญชีเงินเดินสะพัด (ของประเทศ) แบ่งออกเป็น
+ดุลการค้าและบริการ = จำนวนเงินจากการซื้อขายสินค้ากับต่างประเทศ
+บัญชีบริจาค = เงินโอนและเงินบริจาคระหว่างประเทศ
+บัญชีรายได้สุทธิจากต่างประเทศ = เงินรายได้ที่เกิดจากบุคคลที่ไปทำงานในต่างประเทศและส่งกลับเข้ามาในประเทศ
2. บัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย (ไหลเข้าและออกประเทศ)
3. บัญชีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
- ลักษณะดุลการชำระเงิน
*ดุลการชำระเงินเกินดุล (รับมากกว่าจ่าย) เงินจะแข็งค่าขึ้น ค่าของเงินสูงขึ้น ส่งออกสินค้าลดลง
วิธีแก้ไข : ส่งเสริมให้มีการลงทุนในต่างประเทศ
*ดุลการชำระเงินขาดดุล (รับน้อยกว่าจ่าย) เงินจะอ่อนค่าลง ค่าของเงินลดลง ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลง เกิดเงินทุนไหลออก
วิธีแก้ไข : การเสื่อมค่าของเงิน ใช้นโยบายการเงิน-การคลังแบบเข้มงวด
- นโยบายการค้าระหว่างประเทศ
1. นโยบายการค้าเสรี (Free Trade) เป็นนโยบายการค้าเพื่อการใช้ทรัพยากรที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ไร้ข้อจำกัดทางการค้าทั้งด้านการควบคุมคุณภาพสินค้าสูงและด้านการจัดเก็บภาษีศุลกากรที่มีอัตราต่ำ
2. นโยบายการค้าคุ้มกัน (Protective Policy) เป็นนโยบายการค้าเพื่อการคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศที่เกิดใหม่ซึ่งไม่พร้อมกับสินค้าต่างประเทศที่เข้ามา เป็นการเพิ่มอัตราการจ้างงาน ตลอดจนแก้ปัญหาการขาดดุลการชำระเงินในประเทศ แบ่งออกเป็น
* ตั้งกำแพงภาษี โดยการตั้งภาษีสูง ราคาสินค้าเข้าจะเพิ่มขึ้น ผลิตผลในประเทศจะขายได้
* ควบคุมปริมาณสินค้านำเข้าและการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
* อุดหนุนผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้า โดยทำข้อตกลงการค้ากับบางประเทศ
* จำกัดปริมาณสินค้าส่งออก เพื่อให้สินค้าเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ
* ทุ่มตลาด เพื่อทำลายคู่แข่งจากตลาดต่างประเทศ
- ระบบอัตราแลกเปลี่ยน จำแนกได้เป็น
1. มาตราทองคำ ใช้ทุนสำรองเงินตราแลกเป็นมูลค่าทองคำ
2. ระบบกองทุนระหว่างประเทศ (อัตราคงที่)
3. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว มีทั้งการจัดการกับอัตราได้ ซึ่งรัฐบาลเข้าไปทำการแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนได้ และการลอยตัวตามกลไกตลาดเงินโดยอ้างอิงกับสกุลเงินอื่น
- การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เพื่อเป็นการร่วมมือช่วยเหลือบรรลุวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรม
1. Free Trade Area เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ยกเว้นภาษี และไม่ปิดกั้นทางการค้า
2. สหภาพศุลกากร เป็นการใช้พิกัดภาษีเดียวกันภายในกลุ่มประเทศ
3. ตลาดร่วม เป็นการอนุญาตเคลื่อนปัจจัยการผลิตได้อย่างเสรี
4. สหภาพเศรษฐกิจ มีการดำเนินการนโยบายการคลังและการขนส่งร่วมกัน ใช้สกุลเงินเดียวกัน
5. เหนือชาติ เป็นการรวมชาติต่างๆ เป็นหนึ่งเดียวกัน


สรุปเนื้อหาเศรษฐศาสตร์ ม.4-5-6 (มหภาค-การเงิน)

สรุปเนื้อหาเศรษฐศาสตร์ ม.4-5-6 (การเงิน-มหภาค-ระหว่างประเทศ)

- เงิน (Money) หมายถึง สิ่งที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ
ลักษณะ : ต้องเป็นที่ยอมรับในสังคม สามารถแบ่งหน่วยย่อยๆ มีลักษณะเหมือนกัน สะดวกและทนทานต่อการพกพา สำคัญมีความเสถียรในมูลค่า (อาจจะมีความหายาก)
ประเภทของเงิน :
1. เหรียญกษาปณ์ (ในประเทศไทย ผู้ผลิต คือกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง) 
2. ธนบัตร (ในประเทศไทย ผู้ผลิต คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย)
3. เงินฝากกระแสรายวัน (ในประเทศไทย ผู้ผลิต คือ ธนาคารพาณิชย์)
- ประเภทของเงินตามปริมาณเงิน
1. เงิน M1 (แคบ) ได้แก่ เหรียญกษาปณ์ ธนบัตร เงินฝากกระแสรายวัน (อยู่ในระบบตลาดปกติ)
2. เงิน M2 (กว้าง) ได้แก่ เงินฝากประจำ ตั๋วเงิน หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล เงินฝากออมทรัพย์
- มูลค่าของเงิน หมายถึง อำนาจในการซื้อสินค้าและบริการหรือแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างสกุล
1. ค่าของเงินภายใน อำนาจในการซื้อสินค้าหรือบริการของเงินในแต่ละหน่วย พิจารณาจากดัชนีราคาสินค้า (ซึ่งผกผันกันกับราคาสินค้าเสมอ)
2. ค่าของเงินภายนอก อำนาจในการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ (แปลงจากสกุลหนึ่งไปอีกสกุลหนึ่ง) หากจ่ายเพิ่มขึ้นในการแลกเงิน เรียกว่า ค่าเงินอ่อนตัว ในทางตรงข้าม จ่ายน้อยลงในการแลกเงิน เรียกว่า ค่าเงินแข็งตัว
- ความต้องการถือเงินสด จะเกิดขึ้นใน 3 ลักษณะ คือ เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เพื่อใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน และเพื่อใช้ในการแสวงหากำไร
- ประเภทของสถาบันการเงิน
1. สถาบันการเงินที่เป็นธนาคาร ได้แก่
1.1. ธนาคารกลาง มีลักษณะสำคัญไม่แสวงหากำไรจากการประกอบการและไม่ทำธุรกรรมโดยตรงกับประชาชน มีหน้าที่
- รักษาเสถียรภาพผ่านนโยบายการเงิน โดยการรักษาเงินทุนสำรองของประเทศ
- เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์ เพื่อควบคุมการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์
- จัดพิมพ์และออกธนบัตร เพื่อควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ
- เป็นนายธนาคารของรัฐบาล
- ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและประชาสัมพันธ์ข่าวสารทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ
1.2. ธนาคารพาณิชย์ มีลักษณะเป็นสถาบันการเงินที่ประกอบธุรกิจรับ-ถอนเงินฝาก กู้ยืม ให้สินเชื่อ ซื้อขายแลกเปลี่ยน เก็บค่าธรรมเนียม และธุรกรรมอื่นๆ กับประชาชนและนิติบุคคลทั่วไป โดยจะมีระบบสาขาเพื่อระบายเงินทุนสู่ท้องถิ่น และกระจายสินเชื่อ (หากมีเพียงสาขาเดียว จะเกิดขึ้นในลักษณะที่ธนาคารนั้นๆ ต้องการตอบสนองความต้องการของการทำธุรกรรมเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย)
**เงินทุนของธนาคารพาณิชย์ = ผู้ถือหุ้น การกู้ และเงินฝากของลูกค้าธนาคาร**
1.3. ธนาคารพิเศษ หรือธนาคารจัดตั้งขึ้นมาเฉพาะอย่าง ในประเทศไทยประกอบด้วย
- ธนาคารออมสิน เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการระดมเงินฝากจากประชาชนสู่รัฐบาล เพื่อเป็นเงินทุนในการพัฒนาประเทศ
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เงินกู้และรับประการเงินกู้แก่เกษตรกร สหกรณ์การเกษตร
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งเพื่อให้ประชาชนที่มีฐานะปานกลางกู้ยืมเพื่อไปใช้ในการหาที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
2. สถาบันการเงินที่ไม่เป็นธนาคาร ได้แก่
2.1. บริษัทเงินทุนและบริษัทหลักทรัพย์
2.2. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
2.3. บริษัทประกันชีวิตและประกันภัย
2.4. สหกรณ์การเกษตร
2.5. สหกรณ์ออมทรัพย์
2.6. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
2.7. โรงรับจำนำและสถานธนานุบาล
- ประเภทของภาษี
1. ภาษีทางตรง เป็นภาษีที่มีอัตราการเก็บแบบก้าวหน้า ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือผลักภาระให้ผู้อื่นจ่ายได้ เช่น ภาษีเงินได้ (บุคคล/นิติบุคคล) ภาษีมรดก ภาษีที่ดิน
2. ภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่มีอัตราการเก็บคงที่ สามารถผลักภาระให้ผู้อื่นจ่ายแทนได้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สรุปเนื้อหาเศรษฐศาสตร์ ม.4-5-6 (จุลภาค)

สรุปเนื้อหาเศรษฐศาสตร์ ม.4-5-6 (จุลภาค)

บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ = อดัม สมิธ 
- เศรษฐศาสตร์ (Economics) คือ ศาสตร์แห่งการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ (สินค้า + บริการ)
- เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นการศึกษาพฤติกรรมหน่วยเศรษฐศาสตร์ ที่มีการแสวงหาผลประโยชน์ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ
- เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศทั้งระบบ
- ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ = What (ผลิตอะไร) How (ผลิตอย่างไร) For Whom (ผลิตเพื่อใคร)
- ปัจจัยการผลิตทางเศรษฐศาสตร์
1. ที่ดิน (ค่าตอบแทน = ค่าเช่า)
2. แรงงาน (ค่าตอบแทน = ค่าจ้าง) แบ่งออกเป็น แรงงานทักษะ แรงงานกึ่งทักษะ และแรงงานไร้ทักษะ
3. ทุน (ค่าตอบแทน = ดอกเบี้ย) ในรูปแบบของเครื่องมือ สิ่งปลูกสร้าง และ/หรือเครือข่าย
4. ผู้ประกอบการ (ค่าตอบแทน = กำไร ; เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจที่ต้องการสูงสุด)
- ระบบเศรษฐกิจ แบ่งออกเป็น
1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (ไม่มีการวางแผนจากส่วนกลาง) = เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งหมด มีความอิสระในการผลิตและการบริโภค โดยมีกลไกราคากำหนด (อุปสงค์-อุปทาน)
2. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (มีการวางแผนจากส่วนกลาง แบ่งออกเป็น สังคมนิยมแบบเผด็จการและสังคมนิยมคอมมิวนิสต์) = รัฐบาลเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งหมด กำหนดการผลิตและการบริโภคด้วยตนเอง
3. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม = รัฐบาลเข้ามาควบคุมกิจการบางประการ เช่น สาธารณูปโภค สิ่งอันตรายต่อประชาชน เอกชนมีประสิทธิภาพและอิสระในการผลิต ลักษณะระบบนี้จะอาศัยกลไกราคา ดังนั้นการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ก็จะอาศัยการแทรกแซงกลไกตลาด (ราคาขั้นต่ำ - ราคาขั้นสูง)
("มือที่มองไม่เห็น" = กลไกตลาด")
- อุปสงค์ (Demand) 
ความหมาย - ความต้องการซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภค
องค์ประกอบ - ต้องมีอำนาจซื้อ มีความเต็มใจ มีความสามารถ สภาพแวดล้อมเหมาะสม
กฎของอุปสงค์ - ราคาเพิ่มสูงขึ้น อุปสงค์ลดลง / ราคาลดลง อุปสงค์เพิ่มขึ้น
ปัจจัย - ราคาสินค้า (ทั้งสินค้าชนิดนั้นๆ และเกี่ยวเนื่อง) รสนิยม รายได้ของผู้บริโภค จำนวนประชากร
**สินค้าทดแทนกัน จะมีอุปสงค์ที่สวนทางกัน (ชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้น อีกชนิดจะลดลง) เช่น ไก่-หมู
**สินค้าประกอบกัน จะมีอุปสงค์ไปในทางเดียวกัน (ชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้นแล้ว อีกชนิดที่ประกอบกันจะเพิ่มขึ้นตาม) เช่น ไม้ปิงปอง-ลูกปิงปอง กาแฟ-ครีมเทียม
**สินค้าด้อยคุณภาพ จะมีลักษณะสอดคล้องกับรายได้ของผู้บริโภค (เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น อุปสงค์ต่อสินค้าประเภทนี้จะลดลง) เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมปัง
- อุปทาน (Supply)
ความหมาย - ความต้องการขายสินค้าและบริการของผู้ผลิต
กฎของอุปสงค์ - ราคาเพิ่มสูงขึ้น อุปทานเพิ่มขึ้น / ราคาลดลง อุปทานลดลง
ปัจจัย - ราคาสินค้า (ทั้งสินค้าชนิดนั้นๆ และเกี่ยวเนื่อง) ปัจจัยการผลิต ต้นทุน เทคโนโลยีการผลิต และฤดูกาล
- จุดดุลยภาพ (Equilibrium point) คือ จุดที่เส้นอุปสงค์และอุปทานตัดกันในกราฟ เมื่อให้จุดดุลยภาพเป็นหลัก
**เหนือจุดขึ้นไป เรียกว่า อุปทานส่วนเกิน --> เกิดสินค้าล้นตลาด
**ต่ำกว่าจุดลงมา เรียกว่า อุปสงค์ส่วนเกิน --> เกิดสินค้าขาดตลาด
- นโยบายการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
*นโยบายการกำหนดราคาขั้นต่ำ ใช้แก้ปัญหาป้องกันสินค้าราคาต่ำกว่าต้นทุน มักใช้ในสินค้าเกษตร เพราะมีปริมาณผลผลิตไม่แน่นอน สภาพอากาศและอายุการเก็บรักษาไม่แน่นอน เมื่อสินค้าเหล่านี้ล้นตลาด รัฐบาลจะเข้าซื้อที่ราคาหนึ่ง เพื่อไม่ให้ราคาสินค้าเกษตรเหล่านั้นต่ำจนเกินไป
ที่มากกว่ากำหนดไว้
***การกำหนดค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลูกจ้างและนายจ้าง ตลอดจนผู้ประกอบการธุรกิจ อาจก่อให้เกิดการตกงานของแรงงาน ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น***
*นโยบายการกำหนดราคาขั้นสูง ใช้แก้ปัญหาการที่ราคาสินค้าที่จำเป็นต่อประชาชนสูงเกินไป เช่น แก๊สหุงต้มที่ใช้ในครัวเรือน โดยรัฐบาลจะกำหนดเพดานราคาไว้ที่ราคาหนึ่ง ไม่ให้มีการขายสินค้าในราคาสูง การแก้ปัญหาในลักษณะนี้จะส่งผลเสียให้เกิดตลาดมืด (Black Market) ซึ่งมีราคาซื้อขายสูงกว่ารัฐบาลกำหนดไว้
*นโยบายการจ่ายเงินสนับสนุนส่วนต่าง เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำผ่านการลดปริมาณการผลิต แล้วจ่ายเงินส่วนที่ควรจะได้เข้าไปแทน โดยจ่ายอุดหนุนเพื่อรักษาระดับดุลยภาพของตลาดไว้
- ตลาด (Market) ในความหมายทั่วไป คือ "สถานที่ผู้ซื้อและผู้ขายมาพบปะกัน" ในทางเศรษฐศาสตร์ จะหมายถึง "สภาวะที่มีการตกลงซื้อขายสินค้ากัน" แบ่งออกเป็น
1. ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (ระยะยาวจะทำให้เกิดการแบ่งกำไรในทิศทางปกติ = ได้เท่าๆกัน) จัดเป็นตลาดในอุดมคติของนักเศรษฐศาสตร์ โดยมีลักษณะดังนี้
+ผู้ซื้อผู้ขายมีจำนวนมาก ไม่มีอิทธิพลในการกำหนดราคาได้
+สินค้ามีลักษณะเหมือนกันทุกประการ
+มีการย้ายเข้า-ออกของผู้ขายได้อย่างเสรี
+มีความรอบรู้ในสถานการณ์ของตลาด
2. ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ แบ่งออกเป็น
2.1. ตลาดผูกขาด (ระยะยาวส่งผลให้เกิดการได้กำไรมากกว่าระดับปกติ) เกิดมาจากการรวมบริษัทกันเพียงหนึ่งเดียว หรือสินค้ามีการจดสิทธิบัตร การผลิตมีขนาดใหญ่และลงทุนสูง หรืออาจจะเป็นเจ้าของทรัพยากรนั้นๆ เช่น สาธารณูปโภค ยาสูบ มีลักษณะดังนี้
+ผู้ผลิต 1 รายและกีดกันผู้ค้ารายอื่น
+ไม่มีสินค้าทดแทนได้ในตลาด
+ผู้ผูกขาดมีสิทธิกำหนดราคาและปริมาณในการขาย
2.2. ตลาดผู้ขายน้อยราย เกิดจากการรวมกันตกลงราคาหรือผู้นำด้านราคา เช่น สายการบิน น้ำมันเชื้อเพลิง มีลักษณะดังนี้
+มีผู้ขายจำนวนน้อย
+สินค้ามีความแตกต่างกันแต่ทดแทนกันได้ดี
+เกิดการกีดกันทางการค้าได้ ผ่านการแข่งขันทางด้านคุณภาพของสินค้าและบริการ
2.3. ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด เป็นตลาดที่พบเห็นได้ทั่วไป มีลักษณะดังนี้
+มีผู้ขายจำนวนมาก แต่เป็นผู้ขายรายย่อย
+สินค้ามีความแตกต่างกัน ใช้ทดแทนกันได้
+ไร้อุปสรรคทางการค้า มีความรู้
+มีการโฆษณา เพื่อแข่งขันการทางการค้าในการสร้างอำนาจผูกขาดตลาดนั้นๆ

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

รวมมิตรเคมี - สารชีวโมเลกุล

สรุปเคมี - สารชีวโมเลกุล

-- Download ไฟล์สรุปเนื้อหา (คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน) ได้ที่นี่ คลิกเลย

สรุปแบบย่อ
  1. ธาตุใด จะสามารถบ่งบอกได้ว่าสารใดเป็น “สารอินทรีย์” หรือสารใดเป็น “สารอนินทรีย์” ... C H
  2. สารประกอบที่พบมากที่สุดในสิ่งมีชีวิต คือ ... น้ำ
  3. “น้ำ” เป็นสารประกอบที่มีพันธะเฉพาะภายในโมเลกุล คือพันธะใด ... พันธะไฮโดรเจน
  4. คำว่า “คาร์บอนอิ่มตัวด้วยน้ำ” หมายถึงคาร์โบไฮเดรตที่มีอัตราส่วนของไฮโดรเจนและออกซิเจนเป็น ... H : O = 2 : 1
  5. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวพบหมู่ฟังก์ชัน ... คาร์บอนิลและไฮดรอกซิล
  6. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวเป็นน้ำตาลที่ประกอบไปด้วยธาตุคาร์บอนจำนวนเท่าไร ... 3-7 อะตอม
  7. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่มีความสำคัญมากต่อสิ่งมีชีวิตคือ ... น้ำตาลกลูโคส
  8. เหตุใดที่น้ำตาลกลูโคสจึงมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ... เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญและสลายตัวเป็นพลังงานได้เร็วที่สุด
  9. ระหว่าง “กลูโคส กาแลกโทส ฟรักโทส” น้ำตาลชนิดใดที่มีโครงสร้างโมเลกุลที่ต่างจากพวก ... ฟรักโทส (เพราะเป็นโครงสร้างที่จำลองออกมาเป็นรูปห้าเหลี่ยม ขณะที่กลูโคสและกาแลกโทสจะออกมาเป็นรูปหกเหลี่ยม)
  10. เหตุใด “น้ำตาลฟรักโทส” จึงเป็นน้ำตาล “คีโตเฮกโซส” (Keto-Hexose) ... เพราะโครงสร้างของฟรักโทส ส่วนของหมู่คาร์บอนิลนั้นมาอยู่ที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 2 อีกทั้งไม่มีไฮโดรเจนมาเกาะกับคาร์บอนในตำแหน่งนี้
  11. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวรวมตัวกันตั้งแต่ 2 – 10 โมเลกุลจะเรียกว่า ... โอลิโกแซ็กคาไรด์
  12. ระหว่าง Oligosaccharide” และ Disaccharide” แตกต่างกันอย่างไร … Oligosaccharide เป็นน้ำตาลโมเลกุลขนาดหนึ่ง ที่ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวรวมตัวกันตั้งแต่ 2-10 โมเลกุล ขณะที่ Disaccharide เป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ที่มีองค์ประกอบเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 โมเลกุล
  13. พันธะเคมีที่เชื่อมระหว่างน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวแต่ละโมเลกุล ในโอลิโกแซ็กคาไรด์ เรียกว่า ... พันธะไกลโคซิดิก
  14. ปฏิกิริยาการรวมตัวกันของโมเลกุลย่อยที่มีน้ำเข้ามาเกี่ยวเนื่องในปฏิกิริยา เราเรียกปฏิกิริยานี้ว่า ... Dehydration
  15. Condensation Polymerization” เป็นปฏิกิริยาที่มีลักษณะเดียวกันกับ ... Dehydration
  16. ปฏิกิริยา Dehydration ระหว่างน้ำตาลเฮกโซสนั้น เกิดขึ้นอย่างไร ... เกิดขึ้นใน 2 กรณีใหญ่ๆ
  1. มอลโทสและแลกโทส - จากการที่หมู่ไฮดรอกซิล (OH) ที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 1 ของน้ำตาลโมเลกุลหนึ่งรวมกับไฮโดรเจน (H) ที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 4 ของน้ำตาลอีกโมเลกุลหนึ่ง
  2. ซูโครส - จากการที่หมู่ไฮดรอกซิล (OH) ที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 1 ของน้ำตาลกลูโคสรวมกับไฮโดรเจน (H) ที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 5 ของน้ำตาลอีกฟรักโทส
  1. “น้ำตาลนม” หมายถึง ... น้ำตาลแลกโทส
  2. น้ำตาลโมเลกุลคู่ชนิดใดมี “ความหวาน” มากที่สุด ... น้ำตาลซูโครส
  3. โดยทั่วไปแล้วนั้น Dextrin เป็นผลิตภัณฑ์อันเกิดจากการย่อยอาหารประเภทใด ... แป้ง
  4. คุณสมบัติของพอลิแซ็กคาไรด์ที่เด่นชัด คือ ... ไม่ละลายน้ำ ไม่มีความหวาน
  5. พอลิแซ็กคาไรด์ชนิดใด โครงสร้างเป็นแบบเส้นตรง ... เซลลูโลส
  6. แป้งนั้น เป็นพอลิแซ็กคาไรด์ที่มีโครงสร้าง 2 รูปแบบ คือ ... อะไมโลส อะไมโลเพกติน
  7. ความแตกต่างระหว่าง Amylose” และ Amylopectin” คือ ... การเรียงตัวกันของกลูโคส ที่ Amylose จะเรียงตัวกันเป็นสายยาว ส่วน Amylopectin จะเรียงตัวต่อกันเป็นสายยาวและมีแขนงแตกกิ่งก้าน
  8. สารอินทรีย์ใดที่มีมากที่สุดในโลก ... เซลลูโลส
  9. “เซลลูโลส” พบในส่วนใดของเซลล์พืช ... Cell Wall (ผนังเซลล์)
  10. ความแตกต่างระหว่าง “แป้ง” และ “ไกลโคเจน” คือ ... แหล่งที่พบ (แป้งพบในเซลล์พืช ไกลโคเจนพบในเซลล์สัตว์) และโครงสร้างที่ไกลโคเจนมีกิ่งก้านมากกว่าแป้ง
  11. เหตุใด “อะไมเลส” ไม่สามารถสลายเซลลูโลสได้ ... เพราะในเซลลูโลสประกอบไปด้วยกลูโคสที่เชื่อมกันแบบ Beta-Glycosidic Linkage ทำให้ไม่สามารถสลายได้ โดยทั่วไป “อะไมเลส” จะสามารถสลายกลูโคสที่เชื่อมกันแบบ Alpha-Glycosidic Linkage ซึ่งเป็นโครงสร้างที่พบในอะไมโลส
  12. แหล่งพลังงานสำคัญของมนุษย์ จะถูกเก็บไว้ในรูปใดมากที่สุด ... ไกลโคเจน
  13. “ข้าวเหนียว” และ “ข้าวเจ้า” แตกต่างกันอย่างไร … แตกต่างกันตรงที่เนื้อแข็งในเมล็ด ทั่วไปแล้ว Amylose มีความอ่อนนุ่มกว่า Amylopectin เนื่องจากโครงสร้างที่ Amylose เป็นเส้นตรง ส่วน Amylopectin เป็นเส้นกิ่งซึ่งมีความแข็งแรง ดังนั้นเมล็ดข้าวเจ้าประกอบด้วย Amylose เพียงร้อยละ 15-30 ส่วนเมล็ดข้าวเหนียวประกอบด้วยมี Amylose เพียงร้อยละ 5-7 จึงเป็นเหตุที่ทำให้ข้าวเหนียวใช้เวลาในการย่อยสลายในระบบย่อยอาหารนานกว่าข้าวเจ้า
  14. “ไคติน” เป็นคาร์โบไฮเดรตที่พบในสิ่งมีชีวิตประเภทใด ... กุ้ง ปู สัตว์ที่มีโครงร่างภายนอก (Exoskeleton)
  15. พอลิแซ็กคาไรด์โครงสร้าง (Structual Polysaccharide) ทำหน้าที่อะไร ... เป็นองค์ประกอบหนึ่งของสิ่งมีชีวิต เช่น เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ เป็นองค์ประกอบของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของสัตว์ชั้นสูง
  16. ความสำคัญสูงสุดของคาร์โบไฮเดรต คือ ... นำไปสลายเพื่อให้ได้พลังงานเพื่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
  17. โครงสร้างใดของแป้งที่ทำปฏิกิริยาใน Iodine Test แล้วเกิดสารสีน้ำเงินเข้ม ... Amylose
  18. Water Bath” คือ ... การนำหลอดทดลองที่ต้องการให้ความร้อนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการทดลองลงไปแช่ในน้ำที่กำลังต้มให้ร้อนในบีกเกอร์อีกใบ แทนการนำไปโดนกับความร้อนโดยตรง
  19. การทดสอบหาน้ำตาลซูโครสในอาหารทำได้อย่างไร ... ใช้วิธีการแบบ Benedict Test แต่ก่อนการทดลองให้หยดกรดไฮโดรคลอริกลงไปก่อน เพื่อให้กรดไฮโดรคลอริกเป็นตัวช่วยให้เกิดปฏิกิริยาการทดลองก่อน
  20. โปรตีนมีหน่วยย่อยเรียกว่า ... กรดอะมิโน (Amino Acid)
  21. ธาตุองค์ประกอบหลักของโปรตีนได้แก่ ... C H O N
  22. โครงสร้างหลักของกรดอะมิโน จะประกอบด้วยหมู่ฟังก์ชันอะไรบ้าง ... Carboxyl (C-Terminal) และ Amine (N-Terminal)
  23. การที่เราจะบอกความแตกต่างของกรดอะมิโนได้นั้น จะแบ่งได้จากโครงสร้างส่วนใดของกรดอะมิโน ... โซ่ข้าง หรือ Side Chain หรือ R-Chain ที่ประกอบไปด้วยธาตุที่แตกต่างกัน
  24. “ฮีสทีดีนและอาร์จีนิน” โดยทั่วไปจัดเป็นกรดอะมิโนจำเป็น และเหมาะกับวัยใด ... เด็ก
  25. การนำกรดอะมิโนมาต่อกันนั้นเป็นเพปไทด์สายยาวๆ พันธะที่เชื่อมกันระหว่างกรดอะมิโนแต่ละตัวจะเชื่อมกันเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่า ... พันธะเพปไทด์ (Peptide Bond)
  26. ลักษณะการรวมกันเป็น Polypeptide นั้น จะมีปฏิกิริยา Dehydration” ขึ้นหรือไม่ อย่างไร ... มีปฏิกิริยา Dehydration กล่าวคือ หากมีการเชื่อมกัน 1 พันธะเพปไทด์จะมีน้ำเกิดขึ้น 1 โมเลกุล
  27. ลักษณะของ Polypeptide ปลายของทั้งสองข้างจะมีลักษณะอย่างไร ... ปลายทั้งสองข้าง ปลายข้างหนึ่งจะเป็นหมู่ Amine หรือ N-Terminal และปลายอีกข้างหนึ่งจะเป็นหมู่ Carboxyl หรือ C-Terminal
  28. หากมีกรดอะมิโน n แบบที่แตกต่างกันแบบละ 1 โมเลกุล เราจะสามารถสร้างโปรตีนชนิดที่แตกต่างกันได้ทั้งหมดจำนวนกี่ชนิด ... n x (n-1) x (n-2) x … x 3 x 2 x 1 ชนิด หรือ n! ชนิด
  29. กรดอะมิโนที่เป็นกรดนั้น จะมีคุณสมบัติสำคัญอย่างไร ... จะแตกตัวให้ประจุลบที่ pH 7 บางตัวจะละลายน้ำได้ดี
  30. การที่กรดอะมิโนไม่มีขั้ว ก่อให้เกิดคุณสมบัติทางโครงสร้างอย่างไร ... มีความยืดหยุ่นทางโครงสร้างมากยิ่งขึ้น
  31. ความแตกต่างของ “กรดอะมิโนจำเป็น” (Essential Amino Acid) และ “กรดอะมิโนไม่จำเป็น”(Non-Essential Amino Acid)  คือ ... โครงสร้างแตกต่างกัน แหล่งที่พบ พบทั้งในอาหารและร่างกาย การสร้างภายในร่างกาย
  32. ความแตกต่างระหว่าง “โครงสร้างโปรตีนปฐมภูมิ” และ “โครงสร้างโปรตีนทุติยภูมิ” ในด้านรูปร่างโมเลกุล คือ ... โครงสร้างโปรตีนปฐมภูมิมีรูปร่างโมเลกุลเป็นสายตรงยาว ขณะที่โครงสร้างโปรตีนทุติยภูมิมีรูปร่างโมเลกุลเป็นสายตรงยาวแล้วนำมาบิดเกลียวหรือเป็นแผ่นทบกันไปมา
  33. “การเกิดพันธะไดซัลไฟด์ในกรดอะมิโนซิสเทอีน” เป็นปฏิกิริยาที่พบในโปรตีนโครงสร้างระดับใด ... โครงสร้างโปรตีนแบบปฐมภูมิ
  34. ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดของคุณสมบัติระหว่าง Alpha-Helix” และ Beta-pleated sheet” คือ ... ความคงทนของโครงสร้าง โดย Alpha-Helix นั้นมีความคงตัวของโครงสร้าง ส่วน Beta-pleated sheet โครงสร้างมีความยืดหยุ่นแต่ไม่ทนทาน
  35. ปัจจัยใดที่ทำให้โครงสร้างโปรตีนแบบทุติยภูมิ แบบเกลียวแอลฟา มีความคงทน และคงตัวมาก ... พันธะที่เชื่อมระหว่างอะตอมไฮโดรเจนกรดอะมิโนตัวหนึ่งกับอะตอมออกซิเจนของกรดอะมิโนอีกตัวหนึ่ง ซึ่งเป็นพันธะไฮโดรเจน เกิดขึ้นหลายแห่ง ทำให้โครงสร้างสามารถคงสภาพบิดเกลียวในลักษณะเดียวกับเชือกได้
  36. รูปร่างโครงสร้างโปรตีนแบบใด มีรูปร่างเป็นก้อนม้วน ... โครงสร้างโปรตีนแบบตติรภูมิ
  37. คอนจูเกตโปรตีน หรือโปรตีนซับซ้อน (Conjugated Protein) คือ ... โปรตีนที่ประกอบไปด้วยกรดอะมิโนและสารอื่นๆประกอบอยู่ด้วย เช่น Lipoprotein Nucleoprotein ฯลฯ
  38. โครงสร้างโปรตีนแบบจตุรภูมินั้น จะประกอบไปด้วย Polypeptide อย่างน้อยกี่สายรวมกัน ... 3-4 สายขึ้นไป
  39. พันธะไฮโดรเจนที่พบในสาย polypeptide ส่งผลอย่างไรต่อรูปร่างโมเลกุล ... เกิดรูปร่างในลักษณะขด ม้วน หรือพับทบในสายเดียวกัน
  40. หน้าที่ของโปรตีน คือ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย และเป็นตัวช่วยในการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต
  41. เพราะเหตุใด หากเรานำไข่ไปทอดแล้ว สีและลักษณะทั้งหมดเปลี่ยนแปลงไป ... เพราะความร้อนนั้นทำให้โปรตีนในไข่เสียสภาพไป หรือกระบวนการ Denaturation Protein
  42. “เอนไซม์” จัดเป็นสารประเภทใด ... โปรตีน
  43. “โปรตีนที่ไม่สมบูรณ์” เรียกได้อีกอย่างว่า ... โปรตีนจากพืช
  44. การสังเคราะห์โมเลกุลโปรตีน ขึ้นอยู่กับสิ่งใด ... DNA บนโครโมโซมในนิวเคลียส
  45. โปรตีนลักษณะใดที่เรียกว่าโปรตีนไม่ซับซ้อน ... โปรตีนที่ประกอบไปด้วยกรดอะมิโนเพียงอย่างเดียว ไม่มีสารอื่นเจือปน
  46. ลักษณะของโปรตีนที่ทำหน้าที่สะสม มีจุดประสงค์เพื่ออะไรเป็นสำคัญ ... เป็นอาหารของสิ่งมีชีวิต
  47. การทอด “ไข่เจียว” มีการสูญเสียสภาพโปรตีน โดยปัจจัยใด ... ความร้อน
  48. Denaturation คือ ... การเปลี่ยนแปลงสภาพตามธรรมชาติของโปรตีนที่ปกติทำงานได้ดี ให้กลายเป็นโปรตีนที่ทำงานได้น้อยลงหรือสูญเสียหน้าที่ไป หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติอื่นๆ ของโปรตีนด้วย โดยปัจจัยต่างๆ เช่น ความร้อน สารเคมี
  49. Denaturation จะพบเห็นได้ชัดเจนในโครงสร้างโปรตีนระดับใด ... พบได้ในทุกระดับ แต่จะเด่นชัดคือโครงสร้างโปรตีนระดับตติยภูมิ
  50. ปัจจัยใดที่ทำให้เกิดกระบวนการ Renaturation ในโปรตีน ... การที่โครงสร้างของโปรตีนไม่ได้ถูกทำลายหมด ยังเหลือโครงสร้างระดับปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ ซึ่งขึ้นอยู่กับความดันและ pH ซึ่งหลักการนี้จะพบในเอนไซม์ต่างๆ ในร่างกายเท่านั้น
  51. โดยทั่วไปแล้ว “โปรตีน” สามารถเก็บเป็นพลังงานในรูปใดในร่างกาย ... รูปของกลูโคสที่จะแปรสภาพต่อไปเป็นไกลโคเจน
  52. วิธีการใดที่สามารถตรวจสอบว่าสารนี้มี “โปรตีน” เป็นองค์ประกอบหรือไม่ ... Biuret Test (ใช้คอปเปอร์ซัลเฟต+โซเดียมไฮดรอกไซด์) และ Xanthoproteic Test (ใช้กรดไนตริก)
  53. ความแตกต่างระหว่าง “ลิพิด” และ “คาร์โบไฮเดรต” ในเรื่ององค์ประกอบธาตุ คือ ... อัตราส่วนระหว่างไฮโดรเจนต่อออกซิเจนของลิพิดไม่เท่ากับ 2 : 1 แบบเดียวกับคาร์โบไฮเดรต
  54. มอนอเมอร์ของไขมัน-น้ำมัน คืออะไร ... กลีเซอรอล และกรดไขมัน
  55. “ไตรกลีเซอไรด์” มีอัตราส่วนระหว่างกลีเซอรอลและกรดไขมันเท่าไร ... 1 : 3
  56. R-COOH” เป็นสูตรทั่วไปของกรดไขมันแบบใด ... กรดไขมันอิ่มตัว
  57. พันธะที่เชื่อมระหว่างกรดไขมันและกลีเซอรอล มีชื่อว่า ... Ester Bond
  58. การแบ่งที่ง่ายที่สุดว่ากรดไขมันใดเป็นกรดไขมันอิ่มตัว กรดไขมันใดเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว คือดูจากอะไร ... โครงสร้างทางเคมีของกรดไขมัน หากมีพันธะคู่ปรากฏอยู่ในโครงสร้างจะเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว
  59. ความแตกต่างของ “กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว” และ “กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน” คือ จำนวนพันธะคู่ที่พบในโครงสร้างของกรดไขมันไม่อิ่มตัว หากมีตำแหน่งเดียวจะเป็นเชิงเดี่ยว แต่ถ้าหากมากกว่า 1 ตำแหน่งจะจัดเป็นเชิงซ้อน
  60. จำนวนโมเลกุลของน้ำที่เกิดขึ้นระหว่างปฏิกิริยา Dehydration ในการรวมตัวกันระหว่างกรดไขมันและกลีเซอรอล จะขึ้นอยู่กับอะไร ... จำนวนโมเลกุลของกรดไขมันที่มาเกาะกับกลีเซอรอล
  61. “ไข” มีองค์ประกอบที่แตกต่างจาก “ไขมัน” อย่างไร ... ไขมีองค์ประกอบเป็นกรดไขมัน 1 โมเลกุลรวมกับแอลกอฮอล์ที่ไม่ใช่กลีเซอรอล 1 โมเลกุล ส่วนไขมันมีองค์ประกอบเป็นกรดไขมัน 3 โมเลกุลรวมกับกลีเซอรอล 1 โมเลกุล
  62. เหตุใดไขมันสัตว์ (fat) ส่วนมากเป็นของแข็ง ... เพราะองค์ประกอบมีกรดไขมันอิ่มตัวมาก
  63. ลิพิดประกอบ ที่พบใน “เยื่อหุ้มเซลล์” คืออะไร ... ฟอสโฟลิพิด (Phospholipid)
  64. โครงสร้างของ Phospholipid ในส่วนที่ชอบน้ำนั้น จะเป็นโครงสร้างส่วนใด ... หมู่ฟอสเฟต
  65. สิ่งหนึ่งที่ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์เป็นเยื่อเลือกผ่าน คือ ... Phospholipid ประกบกันหน้าหลังเป็น 2 ชั้นทำให้ส่วนที่ชอบน้ำอยู่ด้านนอก และการแพร่สารเข้าไป สารที่จะแพร่เข้าไปได้ต้องเป็นสารที่ละลายในไขมัน ขณะที่สารที่ไม่ละลายในไขมัน จะต้องใช้โปรตีนและพลังงานเพิ่มเข้าไป
  66. 7-Dehydrocholesterol ที่ผิวหนัง มีหน้าที่อะไร ... สังเคราะห์รังสี UV เป็น วิตามิน ดี
  67. “ไกลโคลิพิด” เป็นลิพิดประกอบที่พบในที่ใดของร่างกายมนุษย์ ... เยื่อไมอีลิน (ปลอกหุ้ม Axon ของเซลล์ประสาท)
  68. โครงสร้างของ Steroid” มีลักษณะอย่างไร ... เป็นวงแหวนคาร์บอน 5-6 อะตอมต่อเชื่อมกัน 4 วง
  69. โดยทั่วไปแล้ว Cholesterol ลำเลียงภายในเลือดอยู่ในรูปลิพิดเชิงซ้อนชนิดใด ... Lipoprotein
  70. หน้าที่ Steroid” หลักๆ ในร่างกายคือ ... สารตั้งต้นในการสร้างฮอร์โมนเพศและฮอร์โมนอื่นๆ
  71. “เนยเทียม” จัดเป็นไขมันที่มีองค์ประกอบของกรดไขมันแบบใด ... กรดไขมันอิ่มตัว
  72. คุณสมบัติทั่วไปของกรดไขมันธรรมชาติ มีลักษณะอย่างไร ... แกนโมเลกุลเป็นคาร์บอน จำนวนเป็นคู่ เรียงเป็นสายยาว ไม่แตกแขนง
  73. กรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้ คือ ... กรดไลโนเลอิก กรดไลโนเลนิก
  74. กรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว จะมีลักษณะโครงสร้างที่นอกจากมีการเชื่อมเป็นพันธะคู่แล้ว ยังมีคุณสมบัติพิเศษอย่างไร ... สายกรดไขมันจะไม่ยาวมาก จะอยู่ที่คาร์บอน 4-8 หรือ 10-12 อะตอม
  75. ลักษณะสำคัญที่ทำให้เห็นได้ชัด และสามารถแยกกรดไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันไม่อิ่มตัวได้อย่างชัดเจน นอกจากเรื่องของแหล่งที่พบแล้ว คือเรื่องใด ... กลิ่นเหม็นหืน โดยกรดไขมันไม่อิ่มตัวจะมีกลิ่นหืนง่ายกว่ากรดไขมันอิ่มตัว
  76. หน่วยย่อยของกรดนิวคลีอิกนั้น เรียกว่าอะไร ... นิวคลีโอไทด์
  77. องค์ประกอบของนิวคลีโอไทด์ ได้แก่อะไรบ้าง ... น้ำตาลเพนโทส ไนโตรเจนเบส และหมู่ฟอสเฟต
  78. ระหว่าง “นิวคลีโอไทด์” และ “นิวคลีโอไซด์” ต่างกันในเรื่องโครงสร้างอย่างไร ... ต่างกันในเรื่องขององค์ประกอบที่ปรากฏในส่วนของ “หมู่ฟอสเฟต” โดยปรากฏเพียงแค่ในนิวคลีโอไทด์ได้เท่านั้น
  79. พันธะที่เชื่อมกันระหว่างนิวคลีโอไทด์แต่ละตัวนั้น มีชื่อเฉพาะว่าอะไร ... Phosphodiester Bond
  80. ความแตกต่างของ “น้ำตาลไรโบส” และ “น้ำตาลดีออกซีไรโบส” คือ จำนวนอะตอมของออกซิเจนในโมเลกุล ที่ส่งผลถึงสัดส่วน โดยน้ำตาลดีออกซีไรโบสมีออกซิเจน 4 อะตอม ในขณะที่น้ำตาลไรโบสมีออกซิเจน 5 อะตอม
  81. DNA และ RNA มีหน้าที่หลัก คือ ... เป็นแหล่งเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมและถ่ายทอดลักษณะสิ่งมีชีวิตแก่รุ่นถัดไป
  82. โดยทั่วไปแล้ว DNA มีความสำคัญในการเป็นต้นแบบของการสังเคราะห์สารชีวโมเลกุลชนิดใดให้กับเซลล์ ... โปรตีน
  83. RNA สามารถพบพันธะไฮโดรเจนระหว่างเบสหรือไม่ ... ไม่พบ เพราะว่า RNA เป็นสายเดี่ยว ไม่มีพันธะเชื่อมกันระหว่างคู่เบสแน่นอน
  84. การสังเคราะห์โปรตีนของ DNA จะถูกสังเคราะห์ผ่านอะไร ... mRNA
  85. การสังเคราะห์โปรตีนของ mRNA เกิดขึ้นที่ใด ... ในไซโทพลาสซึม – ไรโบโซม
  86. ลักษณะของ RNA ที่แตกต่างจาก DNA ได้แก่อะไรบ้าง ... น้ำตาลเพนโทส (RNA : Ribose, DNA : Deoxyribose) ไนโตรเจนเบส (RNA : U, DNA : T) จำนวนสาย (RNA : 1, DNA : 2)
  87. ลักษณะของสาย DNA มีลักษณะคล้ายกับอะไร ... ขั้นบันไดเวียน
  88. พันธะที่เชื่อมระหว่างคู่เบสนั้น เป็นพันธะอะไร ... พันธะไฮโดรเจน
  89. Complementary Nitrogenous Base พบในที่ใด ... DNA
  90. Complementary ของเบส Purine คือ ... Pyrimidine
  91. “หาก DNA สายหนึ่งมีลักษณะเป็น 5’ – 3’” ข้อความ “5’ - 3’” คืออะไร ... หมายถึงลักษณะของปลายข้างหนึ่งของสาย DNA มีตำแหน่งที่ 5 ของคาร์บอนในน้ำตาลดีออกซีไรโบส อีกข้างเป็นตำแหน่งที่ 3 ของคาร์บอนในน้ำตาลดีออกซีไรโบส ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เชื่อมต่อกับหมู่ฟอสเฟตของนิวคลีโอไทด์ตัวถัดไป
  92. ลักษณะของ 5’- 3’- 5’– 3’– 5’ และ 3’ – 5’ – 3’ – 5’ – 3’ มีลักษณะคล้ายกันกับอะไร ... รถไฟกลับหัวไปมามาเรียงกัน
  93. รหัสพันธุกรรมใน DNA คือ ... ลำดับที่แตกต่างกันของเบสของนิวคลีโอไทด์ที่เรียงต่อกัน
  94. ลักษณะเฉพาะของสารชีวโมเลกุล คือ พบในสิ่งมีชีวิตเท่านั้น
  95. ไกลโคเจนเป็นคาร์โบไฮเดรตที่พบเพียงในคนและสัตว์
  96. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่มีความสำคัญต่อร่างกายมากที่สุด คือ น้ำตาลกลูโคส
  97. น้ำนมของคนและสัตว์ จะพบน้ำตาลแลกโทสและกาแลกโทสเป็นองค์ประกอบ
  98. เส้นใยอาหาร มีประโยชน์ต่อร่างกายคือ ดูดซับกลูโคสและคอเลสเทอรอลไม่ให้ดูดซึมผ่านลำไส้
  99. โครงสร้างของพอลิแซคคาไรด์ที่แตกต่างจากพวก คือ ไกลโคเจน เป็นโครงสร้างแบบกิ่ง ส่วนแป้งและเซลลูโลสเป็นโครงสร้างแบบเส้นตรง
  100. ปฏิกิริยาการหมัก เป็นปฏิกิริยาที่แปรสภาพแป้งให้เป็นเอทานอล ผ่านยีสต์เป็นตัวทำปฏิกิริยา
  101. กลไกในการดึงไกลโคเจนที่สะสมไว้ในร่างกายมาใช้ประโยชน์ ต้องอาศัยปฏิกิริยาการหายใจระดับเซลล์
  102. อินซูลิน เป็นสารจำพวกโปรตีน
  103. ไตรกลีเซอไรด์ เกิดจากการรวมตัวของกรดไขมัน 3 โมเลกุลและกลีเซอรอล 1 โมเลกุล
  104. ไขมันเรียกเมื่ออยู่ในสถานะของแข็ง น้ำมันเรียกเมื่ออยู่ในสถานะของเหลว
  105. กรดไขมัน มีหมู่ฟังก์ชัน –COOH หรือหมู่ฟังก์ชันคาร์บอกซิล
  106. กรดไขมันที่มีพันธะเดี่ยวตลอดเส้น จัดเป็นกรดไขมันอิ่มตัว กรดไขมันที่มีพันธะคู่บางจุดหรือพันธะสามบางจุด จัดเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว
  107. น้ำมันพืชบางประเภทมีปริมาณกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากกว่าน้ำมันสัตว์ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับองค์ประกอบภายในน้ำมันแต่ละชนิด
  108. เราเรียกกรดไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ไม่ได้ แต่ร่างกายต้องการจากสารอาหารว่า กรดไขมันจำเป็น
  109. ปฏิกิริยา Hydrogenate พบในอุตสาหกรรมการทำเนยเทียม มาการีน ครีมเทียม
  110. ประโยชน์ของวิตามิน E ในน้ำมันพืช เพื่อลดและชะลอกลิ่นเหม็นหืนในน้ำมัน
  111. ประโยชน์ ของคอเลสเทอรอล คือ สร้างสารตั้งต้นของฮอร์โมนเพศ สร้างน้ำดี เป็นฉนวนเส้นประสาท ที่สำคัญ เป็นตัวแปลงแสงอาทิตย์ให้เป็นวิตามินดี (รับในปริมาณพอดี)
  112. โปรตีน มีองค์ประกอบหมู่ฟังก์ชัน –NH2 หรือหมู่อะมิโน ที่เป็นเบส และ หมู่ฟังก์ชัน –COOH หรือหมู่คาร์บอกซิลที่เป็นกรด
  113. พันธะที่เชื่อมระหว่างกรดอะมิโน เรียกว่า พันธะเพปไทด์
  114. กระบวนการที่ทำให้โปรตีนไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม เมื่อสัมผัสความร้อน สารกรด-เบส เรียกการแปลงสภาพโปรตีน
  115. DNA กับ RNA ต่างกันตรงที่องค์ประกอบ โดย DNA มีน้ำตาลดีออกซีไรโบส หมู่ฟอสเฟต เบส A G C T ส่วน RNA มีน้ำตาลไรโบส หมู่ฟอสเฟต และเบส A G C U
  116. การทดสอบแป้ง จะใช้สารละลายไอโอดีน โดยเปลี่ยนจากน้ำตาลเป็นน้ำเงินหรือม่วง
  117. การทดสอบโปรตีน ใช้สารละลายไบยูเรต (โซเดียมไฮดรอกไซด์+คอปเปอร์ซัลเฟต) โดยเปลี่ยนจากฟ้า เป็นม่วง
  118. การทดสอบน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและคู่ (ไม่รวมซูโครส) จะใช้สารละลายเบเนดิกต์ เร่งปฏิกิริยาด้วยการนำไปต้ม โดยเปลี่ยนจากฟ้าเป็นเขียว เหลือง น้ำตาล และแดงอิฐ ส่วนน้ำตาลซูโครสต้องหยดกรดไฮโดรคลอริกผสมไปด้วย ถึงจะได้ผลออกมาเช่นกัน (ให้กรดสลายพันธะให้เหลือน้ำตาลกลูโคสและซูโครส)
  119. การทดสอบน้ำตาลผ่านแป้ง ต้องหยดกรดไฮโดรคลอริก ให้เข้าไปสลายพันธะเคมีให้เหลือเพียงกลูโคส ถึงจะสามารถใช้ชุดทดสอบเบเนดิกต์ได้
  120. การทดสอบหากรดไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันไม่อิ่มตัว จะใช้การนำน้ำมันไปต้ม แล้วหยดด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน แล้วนับจำนวนหยด
  121. การทดสอบว่าอาหารนี้มีไขมันหรือไม่ ทำได้โดยกระดาษขาวทาบ หากพบไขมัน กระดาษจะโปร่งแสง