วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สรุปเนื้อหาเศรษฐศาสตร์ ม.4-5-6 (มหภาค-ภาวะเศรษฐกิจ+ระหว่างประเทศ)

สรุปเนื้อหาเศรษฐศาสตร์ ม.4-5-6 (การเงิน-มหภาค-ระหว่างประเทศ)

*****งบประมาณแผ่นดิน เริ่มต้น 1 ตุลาคมและสิ้นสุดใน 30 กันยายนของปีถัดไป*****
- งบประมาณของรัฐบาล แบ่งออกเป็น
1. งบประมาณแบบสมดุล (รายรับเท่ากับรายจ่าย) เป็นงบประมาณที่มีข้อจำกัดในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ภาวะเงินฝืด อัตราว่างงานสูง ไม่ยืดหยุ่น และไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้
2. งบประมาณแบบขาดดุล (รายรับน้อยกว่ารายจ่าย) เป็นงบประมาณที่มีการนำรายรับจากเงินกู้และ/หรือเงินคงคลังมาชดเชยการขาดดุล (หากมาใช้ถูกต้อง จะช่วยในการเพิ่มผลผลิต การลงทุนและจ้างงาน)
3. งบประมาณแบบเกินดุล (รายรับมากกว่ารายจ่าย) เป็นงบประมาณเพื่อเก็บเงินส่วนเกินเข้าเงินคงคลัง
- รายได้รัฐบาล ได้มาจาก
1. ภาษี เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาช่องว่างระหว่างรายได้ (กระจายรายได้กับประชาชน) ควบคุมการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยและคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศ
2. กำไรจากรัฐวิสาหกิจ
3. การขายทรัพย์สินราชการ-ปล่อยเช่าทรัพยากรของประเทศ
4. ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- บทบาทของรัฐบาลทางเศรษฐกิจ
1. ผลิตสินค้าบริการที่จำเป็น
2. จัดสรรทรัพยากรและกระจายรายได้
3. รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
4. ส่งเสริมการลงทุนทั้งในและระหว่างประเทศ
- หนี้สาธารณะ (Public Debt) เกิดจากการกู้ยืมและค้ำประกันเงินกู้ ชำระโดยการเรียกเก็บภาษีทั้งประเทศ แบ่งออกเป็น
*หนี้สาธารณะภายในประเทศ จากการกู้จากสถาบันการเงินด้วยการขายพันธบัตรและตั๋วคลัง และจากธนาคารกลางโดยการพิมพ์ธนบัตรใส่เข้าไปในระบบ
*หนี้สาธารณะระหว่างประเทศ จากการกู้จากสถาบันการเงินต่างประเทศหรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
ลักษณะภาวะเศรษฐกิจ
1. เงินเฟ้อ **วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภค CPI** มีลักษณะสินค้ามีราคาสูง //ปริมาณเงินเท่าเดิม ซื้อสินค้าได้ปริมาณลดลง// (เงินเฟ้อระดับอ่อน จะส่งเสริมการลงทุนในประเทศได้ดี)
สาเหตุ : ต้นทุนการผลิตสูง ความต้องการสินค้าสูง
ผลกระทบ : ในด้านบวกกับผู้ที่มีความคล่องตัวทางเศรษฐกิจ ผู้ผลิต ผู้ถือหุ้น และลูกหนี้ และในด้านลบกับผู้ที่มีรายได้ประจำ และเจ้าหนี้
2. เงินฝืด มีลักษณะสินค้ามีราคาต่ำ (เงินฝืดระดับอ่อน จะกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย) //แต่เมื่อใดที่ประชาชนขาดรายได้ อำนาจซื้อลดลง จะทำให้เกิดภาวะฟองสบู่เศรษฐกิจแตกได้//
สาเหตุ : ขาดแคลนเงินทุนและเงินออม อุปทานเพิ่มสวนทางกับอุปสงค์ที่ลดลง และภาครัฐดำเนินนโยบายผิดพลาด
ผลกระทบ : ในด้านบวกกับผู้ที่มีรายได้ประจำ และเจ้าหนี้ และในด้านลบกับผู้ที่มีความคล่องตัวทางเศรษฐกิจ ผู้ผลิต ผู้ถือหุ้น และลูกหนี้ 
3. เงินตึง เกิดจากภาวะเงินเฟ้อและการขาดดุลการค้า (แก้ไขโดยดุลการชำระเงิน)
- นโยบายการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (กรณีเข้มงวดใช้สำหรับเงินเฟ้อ และกรณีผ่อนคลายใช้สำหรับเงินฝืด) เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
1. นโยบายการเงิน ผู้ใช้ คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย 
นโยบายผ่อนคลาย : ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เปิดซื้อคืนพันธบัตร ลดอัตราเงินสดสำรอง ส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ
นโยบายเข้มงวด : เปิดขายพันธบัตร จำกัดสินเชื่อ เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพิ่มอัตราเงินสดสำรอง ส่งเสริมการซื้อขายหลักทรัพย์ ดึงเงินเข้าสู่สถาบันการเงิน
2. นโยบายการคลัง ผู้ใช้ คือ รัฐบาล
นโยบายผ่อนคลาย : เพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล ลดการเก็บภาษี ทำงบประมาณขาดดุล เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ แก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอยและอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น
นโยบายเข้มงวด : ลดการใช้จ่ายของรัฐบาล เพิ่มการเก็บภาษี ทำงบประมาณการดุล เป็นการชะลอการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เร็วจนเกินไป
**มาตรการภาษีอากร : เพื่อการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม เน้นภาษีเงินได้ทางตรงอัตราก้าวหน้า และส่งเสริมการลงทุน โดยการเก็บภาษีจากกิจการในอัตราที่ต่ำ
**มาตรการเงินกู้ : เกิดขึ้นในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เอกชนลดการลงทุน
- ดุลการชำระเงิน แบ่งออกเป็น
1. บัญชีเงินเดินสะพัด (ของประเทศ) แบ่งออกเป็น
+ดุลการค้าและบริการ = จำนวนเงินจากการซื้อขายสินค้ากับต่างประเทศ
+บัญชีบริจาค = เงินโอนและเงินบริจาคระหว่างประเทศ
+บัญชีรายได้สุทธิจากต่างประเทศ = เงินรายได้ที่เกิดจากบุคคลที่ไปทำงานในต่างประเทศและส่งกลับเข้ามาในประเทศ
2. บัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย (ไหลเข้าและออกประเทศ)
3. บัญชีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
- ลักษณะดุลการชำระเงิน
*ดุลการชำระเงินเกินดุล (รับมากกว่าจ่าย) เงินจะแข็งค่าขึ้น ค่าของเงินสูงขึ้น ส่งออกสินค้าลดลง
วิธีแก้ไข : ส่งเสริมให้มีการลงทุนในต่างประเทศ
*ดุลการชำระเงินขาดดุล (รับน้อยกว่าจ่าย) เงินจะอ่อนค่าลง ค่าของเงินลดลง ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลง เกิดเงินทุนไหลออก
วิธีแก้ไข : การเสื่อมค่าของเงิน ใช้นโยบายการเงิน-การคลังแบบเข้มงวด
- นโยบายการค้าระหว่างประเทศ
1. นโยบายการค้าเสรี (Free Trade) เป็นนโยบายการค้าเพื่อการใช้ทรัพยากรที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ไร้ข้อจำกัดทางการค้าทั้งด้านการควบคุมคุณภาพสินค้าสูงและด้านการจัดเก็บภาษีศุลกากรที่มีอัตราต่ำ
2. นโยบายการค้าคุ้มกัน (Protective Policy) เป็นนโยบายการค้าเพื่อการคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศที่เกิดใหม่ซึ่งไม่พร้อมกับสินค้าต่างประเทศที่เข้ามา เป็นการเพิ่มอัตราการจ้างงาน ตลอดจนแก้ปัญหาการขาดดุลการชำระเงินในประเทศ แบ่งออกเป็น
* ตั้งกำแพงภาษี โดยการตั้งภาษีสูง ราคาสินค้าเข้าจะเพิ่มขึ้น ผลิตผลในประเทศจะขายได้
* ควบคุมปริมาณสินค้านำเข้าและการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
* อุดหนุนผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้า โดยทำข้อตกลงการค้ากับบางประเทศ
* จำกัดปริมาณสินค้าส่งออก เพื่อให้สินค้าเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ
* ทุ่มตลาด เพื่อทำลายคู่แข่งจากตลาดต่างประเทศ
- ระบบอัตราแลกเปลี่ยน จำแนกได้เป็น
1. มาตราทองคำ ใช้ทุนสำรองเงินตราแลกเป็นมูลค่าทองคำ
2. ระบบกองทุนระหว่างประเทศ (อัตราคงที่)
3. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว มีทั้งการจัดการกับอัตราได้ ซึ่งรัฐบาลเข้าไปทำการแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนได้ และการลอยตัวตามกลไกตลาดเงินโดยอ้างอิงกับสกุลเงินอื่น
- การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เพื่อเป็นการร่วมมือช่วยเหลือบรรลุวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรม
1. Free Trade Area เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ยกเว้นภาษี และไม่ปิดกั้นทางการค้า
2. สหภาพศุลกากร เป็นการใช้พิกัดภาษีเดียวกันภายในกลุ่มประเทศ
3. ตลาดร่วม เป็นการอนุญาตเคลื่อนปัจจัยการผลิตได้อย่างเสรี
4. สหภาพเศรษฐกิจ มีการดำเนินการนโยบายการคลังและการขนส่งร่วมกัน ใช้สกุลเงินเดียวกัน
5. เหนือชาติ เป็นการรวมชาติต่างๆ เป็นหนึ่งเดียวกัน


ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น